โรคไข้หวัดนก (BIRD FLU) หน้าหลัก1 , 2 , 3 , 4 , 5 , แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับไข้หวัดนก

สารบัญหน้าที่4
การระบาดของโรค Avian influenza , การศึกษาในฮ่องกง , สถานการณ์ในปัจจุบัน update15.gif (1104 bytes)


การระบาดของโรค Avian influenza จากรายงาน ปี พ.ศ.2539-2540 (ค.ศ.1996-1997)
ปี 2539-2540 มีรายงานของ OIE (Office of International Epizootic) พบการระบาดในประเทศลาว พม่า เนปาลและปากีสถาน แต่ไม่มีรายงานยืนยันโดยการแยกและพิสูจน์เชื้อ     อิตาลี เกิดการะบาดของโรคในไก่ เป็ด และนกต่างๆ จำนวน 6 ครั้ง รวมสัตว์ป่วย ตาย และถูกทำลายเพื่อควบคุมโรคกว่า 3,50 ตัว พบว่าเกิดจากเชื้อ HPAI ชนิด H5N2 ออสเตรเลีย เกิดการระบาดตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน - ธันวาคม ในฟาร์มไก่ 2 แห่ง จำนวน 158,000 ตัว และในฟาร์มไก่/นกอีมู 1 แห่ง ซึ่งมีไก่ 33,000 ตัว และนกอีมู 261 ตัว พบว่าเกิดจากเชื้อ HPAI ชนิด H7N4   ปัจจุบันอิตาลีและออสเตรเลีย ผ่านการรับรองจากสำนักงานโรคระบาดสัตว์ระหว่างประเทศ (OIE) ว่าปลอดโรคนี้แล้ว

การระบาดของไข้หวัดใหญ่ในฮ่องกง
- เมษายน 2540 เกิดการระบาดของโรค Highly pathogenic avian influenza (HPAI) ในฟาร์มไก่ 3 แห่ง มีไก่ตาย ประมาณ 4,500 ตัว ตรวจพบเชื้อไวรัส HPAI ชนิด H5N1
- พฤษภาคม 2540 เมื่อวันที่ 9 พ.ค. เด็กชายอายุ 3 ปี เริ่มป่วย เป็นไข้ เจ็บคอ และไอ ต่อมาเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลแล้วเสียชีวิต ในวันที่ 21 พ.ค. เนื่องจากระบบหายใจล้มเหลว (ตามประวัติเด็กคนนี้สัมผัสกับไก่ป่วยมาก่อนที่จะแสดงอาการป่วย)
- สิงหาคม 2540 ตรวจพบเชื้อไวรัส H5N1 จากตัวอย่างที่เก็บจากเด็กคนนี้ขณะป่วย ซึ่งเป็นชนิดที่พบเฉพาะในสัตว์ปีกเท่านั้นไม่เคยพบในคนมาก่อน
- พฤศจิกายน 2540 มีผู้ป่วยเพิ่มขึ้น 3 ราย ด้วยอาการมีไข้ เจ็บคอ และไอ ตรวจพบเชื้อไวรัส H5N1 เช่นเดียวกัน ทั้ง 3 รายนี้ไม่มีประวัติการสัมผัสกับไก่มาก่อน ไม่ได้คลุกคลีกับผู้ป่วยรายแรกและผู้ป่วยคนอื่นๆ ผู้ป่วยรายที่สองเป็นเด็กชายอายุ 2 ปี เป็นโรคหัวใจตั้งแต่กำเนิด เริ่มป่วยวันที่ 6 พ.ย. และหายป่วยวันที่ 9 พ.ย. รายที่สามเป็นชายอายุ 54 ปี เริ่มป่วยวันที่ 24 พ.ย. และเสียชีวิตเมื่อวันที่ 5 ธ.ค. และรายที่สี่เป็นเด็กหญิงอายุ 13 ปี เริ่มป่วยวันที่ 20 พ.ย. และเสียชีวิตเมื่อวันที่ 21 ธ.ค.
- ธันวาคม 2540 มีผู้ป่วยที่ตรวจพบเชื้อ H5N1 เพิ่มขึ้นอีก 9 ราย ตามประวัติ บางรายเป็นญาติกัน และมีผู้สงสัยว่าป่วยซึ่งยังไม่ได้รับการยืนยันอีก 6 ราย เมื่อวันที่ 25 ธ.ค. มีผู้ป่วยหญิงอายุ 60 ปี เสียชีวิตเป็นรายที่สี่
ทางการฮ่องกงได้ประกาศงดการนำเข้าไก่จากจีนแผ่นดินใหญ่ เนื่องจากเกรงว่าจะเป็นแหล่งต้นตอของการระบาด และได้ตัดสินใจทำลายไก่ทั่วเกาะฮ่องกงจำนวน 1.2 ล้านตัว เพื่อควบคุมการระบาดของเชื้อนี้
เจ้าหน้าที่ของฮ่องกง ผู้เชี่ยวชาญจากองค์การอนามัยโลก (WHO) และจากศูนย์ป้องกันและควบคุมโรคของสหรัฐ (CDC) ได้ร่วมมือกันศึกษาเกี่ยวกับการะบาดของเชื้อ AIV จากไก่สู่คนในครั้งนี้โดย

h5n1.gif (36532 bytes)

การศึกษาในฮ่องก
                 การตรวจซีรั่มต่อเชื้อ H5N1 ด้วยวิธี microneutralization assay ของกลุ่มคนที่มีโอกาสสัมผัสกับเชื้อ (จากเด็กที่ตายรายแรก) จำนวน 502 คน โดยมีกลุ่มเปรียบเทียบจำนวน 419 คน พบว่าในกลุ่มเปรียบเทียบไม่มีแอนติบอดีเลย แต่ในกลุ่มคนที่มีโอกาสสัมผัสกับเชื้อตรวจพบแอนติบอดี้จำนวน 9 ราย คิดเป็น 1.8% โดยมีรายละเอียดดังนี้

กลุ่มคนที่มีโอกาสสัมผัสกับเชื้อ

จำนวนตัวอย่างที่ตรวจพบ/ทั้งหมด

%

1. กลุ่มคนที่คลุกคลีกับเด็กที่ป่วยตายรายแรก    

ครอบครัวเดียวกัน

0 / 4

-

ผู้ดูแลเด็กป่วย

1a / 54

1.9

เด็กนักเรียน ครู และผู้ปกครอง

1b / 261

0.4

2. กลุ่มคนที่อาศัยบริเวณเดียวกับเด็กที่ป่วยตายรายแรก

1c / 63

1.6

3. เจ้าหน้าที่ในห้องปฏิบัติการ

1 / 73

1.4

4. เกษตรกร    

ผู้เลี้ยงไก่

5 / 29

7.2

ผู้เลี้ยงสุกร

0 / 18

-

a ไม่มีประวัติคลุกคลีกับไก่
b เด็กนักเรียนมีประวัติคลุกคลีกับไก่
c ประวัติไม่ชัดเจนเกี่ยวกับการคลุกคลีกับไก่

ผลการศึกษาครั้งนี้บ่งชี้ว่าการติดเชื้อ H5N1 อาจเกิดจากการสัมผัสกับไก่ที่ติดเชื้อ การสัมผัสกับเชื้อโดยตรง และการคลุกคลีกับผู้ป่วยที่ติดเชื้อ
           
การวิเคราะห์ทางพันธุกรรมของเชื้อไวรัส H5N1 ที่แยกได้จากเด็กที่ตายรายแรกนี้ไม่พบความแตกต่างกับเชื้อ ที่แยกได้จากไก่ซึ่งเป็นการยืนยันว่า เชื้อนี้แพร่จากไก่ป่วยสู่คน ส่วนการติดต่อระหว่างคนมีโอกาสเป็นไปได้น้อย เนื่องจากตรวจไม่พบแอนติบอดีจากคนในครอบครัวเดียวกับผู้ป่วย และตรวจพบแอนติบอดี้เพียง 2 ราย จากกลุ่มคนที่สัมผัสกับเด็กป่วย ฉะนั้น WHO จึงไม่ประกาศว่าฮ่องกงเป็นเขตระบาดของโรคไข้หวัดใหญ่
การศึกษาของผู้เชี่ยวชาญกลุ่มนี้ยังคงดำเนินต่อไปเพื่อหาข้อสรุปของปัญหาที่เกิดขึ้นเกี่ยวกับการระบาดของเชื้อนี้จากไก่สู่มนุษย์ และโอกาสของการแพร่เชื้อนี้ระหว่างมนุษย์ด้วยกัน นอกจากนั้นยังมีการเฝ้าระวังโรค ตลอดจนมีการเตรียมพร้อมเพื่อรับมือกับเหตุการณ์ที่อาจเกิดขึ้นต่อไป

ข่าว Avian Influenza ต่างประเทศ

เดือน ปี ประเทศ เมือง/มณฑล/รัฐ สายพันธุ์ จำนวนผู้ป่วย เสียชีวิต ชนิดสัตว์
  2540 อิตาลี   H5N2     เป็ด ไก่ นก
เมย 2540 จีน ฮ่องกง H5N1 18 6 ไก่
พย-ธค 2540 ออสเตรีย   H7N4     นกอีมู ไก่
มีค 2541 อเมริกา เพนซิลเวเนีย H7N2     ไก่
  2542 จีน ฮ่องกง H9N2 2    
พย 2544 อเมริกา คอนเนคติกัต H7N2      
มค 2545 อเมริกา เพนซิลเวเนีย N/A      
กพ 2545 จีน ฮ่องกง H5N1      
เมย 2545 จีน ฮ่องกง H9N2 mild 2    
เมย 2545 จีน กวางตุ้ง H9N2 5    
เมย 2545 เนเธอร์แลนด์ Teefelen H7N7 mild 83 ราย 1 สัตว์ปีก
กพ 2546 จีน ฮ่องกง H5N1 2    
กพ 2546 เนเธอร์แลนด์   H7N7     สัตว์ปีก
หลังกพ 2546 เบลเยี่ยม   H7N7     สัตว์ปีก
หลังกพ 2546 เยอรมัน   H7N7     สัตว์ปีก
มีค 2546 อเมริกา คอนเนคติคัต N/A     สัตว์ปีก
เมย 2546 เบลเยี่ยม Meeuwen-Grultrode fowl plague      
พย 2546 อินโดนีเซีย ชวาตะวันตก เกาะสุมาตรา rumor/suspect     สัตว์ปีก
ธค 2546 เกาหลีใต้ ตอนกลางประเทศ H5N1     ไก่
ธค 2546 ไต้หวัน   N/A     เป็ด
กลางธค 2546 จีน ฮ่องกง H9N2? 1    
สิ้นปี 2546 เวียดนาม ทางตอนใต้ H5N1     ไก่
มค 2547 เวียดนาม ฮานอย H5N1 14 12 ไก่
มค 2547 ญี่ปุ่น ยามากูชิ H5N(1)     ไก่

 

สถานการณ์ในปัจจุบัน update15.gif (1104 bytes)

- เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2546 พบผู้ป่วยอาการคล้ายไข้หวัดใหญ่ในครอบครัวของชาวฮ่องกง 4 คน ที่ไปเยี่ยมญาติในมณฑลฟูเจี้ยนของประเทศจีน เสียชีวิตในจีน 1 ราย อีก 3 ราย มารับการรักษาในเกาะฮ่องกง ในจำนวนนี้สามารถแยกเชื้อ Influenza A H5N1 (ไข้หวัดนก) ได้ 2 ราย โดยเสียชีวิต 1 ราย
-
15 ธันวาคม 2546 ที่เกาหลีใต้ พบ H2N1 ยังไม่มีรายงานว่าติดต่อสู่คน
-
ปลายเดือนธันวาคม 2546 ที่ประเทศญี่ปุ่น มีรายงานว่าพบ H2N1 และไม่มีรายงานว่าติดต่อสู่คน
27 ธันวาคม 2547 ที่เวียดนามพบเชื้อ H5N1 ในไก่ และมีการล้มตายของไก่เป็นจำนวนมาก
-
14 มกราคม 2547 มีรายงานว่าที่กรุงเวียงจันทน์ ประเทศลาว   ไก่เริ่มตายอย่างไม่ทราบสาเหตุตั้งแต่วันที่   14 มกราคม จนทางการได้ส่งตัวอย่างเชื้อไปตรวจที่เวียดนาม และพบว่าไวรัสดังกล่าวเป็นไวรัสกลุ่ม H5 แต่ยังไม่สามารถระบุสายพันธุ์ รวมทั้งยังไม่มีรายงานการติดเชื้อในมนุษย์
-
15 มกราคม 2547 ในประเทศเวียดนาม มีผู้เสียชีวิตเนื่องจากเชื้อไข้หวัดนก จำนวน 6 ราย
-
กลางเดือนมกราคน 2547 ที่ประทศไต้หวัน พบการระบาดของเชื้อ H5N2 ไม่มากในไก่ และไม่มีรายงานว่ามีคนติดโรคนี้
-
22 มกราคม 2547 รัฐบาลออกมาแถลงว่า ได้ตรวจพบอย่างแน่ชัดว่ามีไก่ติดเชื้อไข้หวัดนก
-
23 มกราคม  2547 ยืนยันว่าพบ H5N1 ในลูกไก่ที่ตาย ในประเทศกัมพูชา
-
25 มกราคม 2547  อินโดนีเซีย ยืนยันอย่างเป็นทางการว่ามีไก่ตายด้วยเชื้อ H5N1 ซึ่งก่อนหน้านี้ในเดือนพฤศจิกายน 2546 มีการตายของไก่เป็นจำนวนมาก แต่รัฐบาลอินโดนีเซีย แจ้งว่าไก่เป็นโรค Newcastle
-
27 มกราคม 2547 มีรายงานพบการระบาดที่ประเทศปากีสถาน สายพันธุ์ H7 และ H9
-
28 มคราคม 2547 จีนได้ออกมาประกาศยืนยันว่าได้ตรวจพบเชื้อ H5N1 ในซากเป็ดที่ตายเป็นจำนวนมาก แต่ยังไม่มี
รายงานว่าคนมีผู้ป่วยด้วยไข้หวัดนก ดังนั้นจีนจึงเป็นชาติที่ 10 ที่มีการระบาดของเชื้อไข้หวัดนก ในเขตทวีปเอเชีย
- 29 มกราคม 2547 ที่ประเทศเวียดนามมีรายงานว่ามีผู้เสียชีวิตเพิ่มขึ้นอีก 2 ราย   รวมผู้เสียชีวิตด้วยโรคไข้หวัดนก
   ในเวียดนามจำนวน 8 ราย
- 2 กุมภาพันธ์ 2547 พบผู้เสียชีวิตที่เวียดนามอีก 1 ราย
- 3 กุมภาพันธ์ 2547 พบผู้ป่วยด้วยโรคไข้หวัดนกที่เวียดนามอีก 2 ราย รวมทั้งหมดที่เวียดนามพบผู้ติดเชื้อ 15 คน เสียชีวิต
   9 ราย
-
4 กุมภาพันธ์ 2547 พบไก่ติดเชื้อและต้องสงสัยว่าจะติดเชื้อไข้หวัดนกในจีนแล้ว 12 มณฑลจากทั้งหมด 31 มณฑล
-
4 กุมภาพันธ์ 2547 พบผู้เสียชีวิตด้วยโรคไข้หวัดนกที่เวียดนามอีก 2 ราย รวมทั้งหมดที่เวียดนามพบผู้ติดเชื้อ 15 คน เสียชีวิต
   11 ราย
- 5
กุมภาพันธ์ 2547 จีนเปิดเผยว่า พบผู้ติดเชื้อไข้หวัดนกในประเทศแล้ว 1 คน และมีผู้ต้องสงสัยว่าได้รับเชื้ออีก 2 คน
- 8 กุมภาพันธ์ 2547 มีรายงานว่าสหรัฐอเมริกาพบเชื้อไข้หวัดนก H7 ในรัฐเดลลาแวร์   ได้ฆ่าไก่ไปแล้ว 12,000 ตัว
- 12 กุมภาพันธ์ 2547 ขณะนี้เวียดนามมีผู้เสียชีวิตจากโรคไข้หวัดนกแล้ว ๑๔ ราย จากผู้ป่วยทั้งหมด 20 ราย   และมีการทำลายสัตว์ปีกไปแล้วกว่า ๓๐ ล้านตัว หลังพบการระบาดของโรคตั้งแต่ปลายเดือนมกราคมปีที่แล้ว
-
16 กุมภาพันธ์ 2547 กระทรวงการเกษตรของจีนเปิดเผยว่าพบเชื้อไวรัสไข้หวัดนกที่เมืองลาซา ในทิเบต
-
19 กุมภาพันธ์ 2547 ที่เวียดนามพบผู้ติดเชื้อไข้หวัดนกทั้งสิ้น 23 ราย เสียชีวิตไปแล้ว 15 ราย 2 รายล่าสุดเป็นเด็กชายวัย 4 ขวบจากจังหวัดลัม ดง ทางตอนกลางของเวียดนามซึ่งเสียชีวิตเมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์และทางการได้ออกมายืนยันสาเหตุการเสียชีวิตว่าเกิดจากโรคไข้หวัดนก รวมถึงชายวัย 29 ปีอีกคนหนึ่งที่เสียชีวิตเมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์
- 21
กุมภาพันธ์ 2547 เจ้าหน้าที่รัฐเท็กซัสของสหรัฐ กล่าวยืนยันพบเชื้อไวรัสไข้หวัดทางตอนใต้ของรัฐเท็กซัส ซึ่งนับเป็นรัฐที่ 4 ที่พบการระบาดของโรคดังกล่าวต่อจากรัฐเดลาแวร์ นิวเจอร์ซี และเพนซิลวาเนียของสหรัฐ การระบาดที่รัฐเท็กซัสพบในฝูงไก่ของฟาร์มไก่แห่งหนึ่งในเขตกอนซาเลส และได้มีการปิดล้อมพื้นที่ไว้แล้ว ส่วนเชื้อไวรัสที่พบเป็นสายพันธุ์ เอช 5 เอ็น 2 ซึ่งไม่เป็นอันตรายกับคน และทำให้ไก่ตายไม่มากนัก   ที่มา : สำนักข่าวไทย

 


หน้าหลัก1 , 2 , 3 , 4 , 5 , แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับไข้หวัดนก