โรคไข้หวัดนก (BIRD FLU) หน้าหลัก1 , 2 , 3 , 4 , 5 , แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับไข้หวัดนก

สารบัญหน้าที2
อาการที่เกิดในคน , อาการและวิการในสัตว์ , โรคที่คล้ายคลึงกัน , การวินิจฉัยและชันสูตรโรค


อาการที่เกิดในคน
การเฝ้าระวังโรคแบ่งออกเป็น 3 ระดับ คือ 1.ผู้ป่วยที่สงสัย 2.ผู้ป่วยที่น่าจะเป็น และ 3 ผู้ป่วยที่ยืนยัน
       1.ผู้ป่วยที่สงสัย (Suspect) ได้แก่ผู้ที่มีอาการดังต่อไปนี้
       - ไข้ อุณหภูมิกายมากกว่า 38 องศา ร่วมกับ
       - อาการอย่างใดอย่างหนึ่ง ได้แก่ ปวดกล้ามเนื้อ, ไอ, หายใจผิดปกติ (หอบ, ลำบาก), แพทย์วินิจฉัยว่าเป็นปอดบวม ร่วมกับ
       - ประวัติการสัมผัสสัตว์ปีกที่ป่วยหรือตาย โดยตรงในระยะ 10 วันที่ผ่านมา หรือมีการตายของสัตว์ปีกอย่างผิดปกติในพื้นที่ที่อาศัยอยู่ เช่น ในหมู่บ้าน ในตำบล หรือตำบลใกล้เคียง
       2.ผู้ป่วยที่น่าจะเป็น (Probable) ได้แก่ผู้ป่วยที่ต้องสงสัย ร่วมกับอาการตรวจดังต่อไปนี้
       - ความผิดปกติของปอดที่ชัดเจนและมีการเปลี่ยนแปลงในทางที่เลวลง แม้จะให้การรักษาด้วยยาปฏิชีวนะ (Broad Spectrum Antibiotics) ร่วมกับ
       - ได้ตรวจทางห้องปฏิบัติการไม่พบการติดเชื้ออื่นที่จะอธิบายการป่วยได้
        3.ผู้ป่วยยืนยัน (Confirm) ได้แก่ ผู้ป่วยที่น่าจะเป็นและมีผลการตรวจทางห้องปฏิบัติต่อไปนี้สนับสนุน
       - เพาะเชื้อพบ Influenza A ที่ไม่ใช่ H1 หรือ H2 หรือ H3
       - ตรวจ PCR (Polymerase Chain Reaction) ด้วยห้องปฏิบัติการยืนยันว่าเป็น Influenza A ที่ไม่ใช่ H1 หรือ H2 หรือ H3
      ส่วนคำแนะนำสำหรับประชาชนทั่วไป คือ ทำร่างกายให้แข็งแรง เพื่อให้ร่างกายมีภูมิต้านทานโรคได้ดี โดยการรับประทานอาหารให้ครบถ้วน รวมทั้งผักและผลไม้ งดบุหรี่ สุรา นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ ควรสวมเสื้อผ้าให้อบอุ่นพอในช่วงอากาศเย็น
       และหากมีอาการไม่สบาย เช่น มีไข้ ปวดศรีษะ หนาวสั่น เจ็บคอ ไอ ต้องรีบไปพบแทย์ทันที และแจ้งแพทย์ด้วยว่าทำงานในฟาร์มเลี้ยงสัตว์ หรือมีประวัติสัมผัสซากสัตว์

อาการและวิการในสัตว์
ระยะฟักตัวของโรคอาจสั้นเพียงไม่กี่ชั่วโมงจนถึง 3 วัน ขึ้นอยู่กับชนิดของเชื้อ วิธีการที่ได้รับเชื้อ จำนวนเชื้อ และชนิดของสัตว์
อาการ ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง เช่น ชนิดสัตว์ อายุ สภาวะความเครียด โรคแทรกซ้อน และอื่นๆ เชื้อที่ทำให้เกิดอาการรุนแรงในสัตว์ปีกชนิดหนึ่งอาจไม่ทำให้เกิดอาการใดๆ ในสัตว์ปีกอีกชนิดหนึ่ง อาการที่พบโดยทั่วไป ได้แก่
- ซูบผอม ซึมมาก ไม่กินอาหาร ขนยุ่ง ไข่ลด
- ไอ จาม หายใจลำบาก น้ำตาไหลมาก หน้าบวม หงอนมีสีคล้ำ
- อาจมีอาการของระบบประสาท และท้องเสีย
- รายที่รุนแรงจะตายกระทันหันโดยไม่แสดงอาการ (อัตราตายอาจสูงถึง 100%)

วิการ ขึ้นอยู่กับชนิดของเชื้อ ชนิดสัตว์ และอื่นๆ เช่นเดียวกัน ในรายที่รุนแรงและตายทันทีอาจไม่พบวิการใดๆ ลักษณะของวิการที่มีรายงานในไก่และไก่งวง ได้แก่
- ซากผอมแห้ง
- มีการบวมน้ำใต้ผิวหนังที่ส่วนหัวและคอ
- ตาอักเสบบวมแดง และอาจมีจุดเลือดออก
- หลอดลมอักเสบรุนแรงมีเมือกมาก
- มีจุดเลือดออกที่กระเพาะแท้ โดยเฉพาะตรงรอยต่อกับกึ๋น
- มีการลอกหลุดและจุดเลือดออกที่ผนังของกึ๋น
- ไตบวมแดงและอาจพบยูเรตที่ท่อไต

Watery eyes and sinuses and swelling of the head.

Cyanosis of the shanks.

Haemorrhages of the trachea.

 

Haemorrhages of the intestine.

โรคที่คล้ายคลึงกัน
- อหิวาต์ไก่ชนิดรุนแรง
- นิวคาสเซิล
- กล่องเสียและหลอดลมอักเสบติดต่อ
- การติดเชื้อมัยโคพลาสม่า และแบคทีเรียชนิดอื่นๆ

การวินิจฉัยและชันสูตรโรค
จำเป็นต้องทำการแยกพิสูจน์เชื้อไวรัสและการทดสอบความรุนแรงของเชื้อทางห้องปฏิบัติการ
การตรวจแยกเชื้อทางไวรัสวิทยา ตัวอย่างที่ใช้ในการตรวจ
- Tracheal และ cloacal swabs (หรือ feces) จากสัตว์ป่วย
- อวัยวะภายในต่างๆ เช่น ปอด ตับ ม้าม หัวใจ สมอง ลำไส้ ฯ

วิธีการตรวจ
- แยกเชื้อไวรัสโดยฉีดเข้าไข่ไก่ฟัก (อย่างน้อย 2 passages)
- ตรวจคุณสมบัติของเชื้อที่แยกได้โดยใช้เม็ดเลือดแดงไก่ (hemagglutination, HA) และไม่ถูกยับยั้งด้วยแอนติซีรั่มต่อเชื้อไวรัสนิวคาสเซิล (hemagglutination inhibition, HI)
- ตรวจการตกตะกอนในเนื้อวุ้น (agar gel immunodiffusion, AGID) กับแอนติซีรั่มอ้างอิงต่อเชื้อ avian influenza A
- ทดสอบความรุนแรงของเชื้อที่แยกได้ โดยฉีดเชื้อเข้าเส้นเลือดไก่ทดลอง
- ส่งเชื้อที่แยกได้ไปยังห้องปฏิบัติการอ้างอิงเพื่อแยก subtype
การตรวจทางซีรั่มวิทยา
- ตรวจการติดเชื้อ AIV type A โดยวิธี AGID และอีไลซ่า
- ตรวจการติดเชื้อว่าเป็น subtype (H) ชนิดใด โดยวิธี HI กับแอนติเจนที่เตรียมจาก subtype ชนิดต่างๆ ที่สำคัญได้แก่ H5 และ H7


หน้าหลัก1 , 2 , 3 , 4 , 5 , แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับไข้หวัดนก