โรคไข้หวัดนก (BIRD FLU) หน้าหลัก1 , 2 , 3 , 4 , 5 , แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับไข้หวัดนก

สารบัญหน้าที่1
Influenza , ลักษณะและความทนทานของเชื้อ , การติดเชื้อในสัตว์ปีก (Avian influenza)การแพร่กระจายของเชื้อ avian influenza virus ,


Influenza หมายถึง โรคที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัส Influenza ในตระกูล Orthomyxoviridae ซึ่งเป็น RNA ไวรัสชนิด
มีเปลือกหุ้ม (envelope) โดยมี surface antigens ที่สำคัญ ได้แก่ hemagglutinin (H) มี15 ชนิด และ neuraminidase (N)
มี 9 ชนิด เชื้อไวรัส Influenza แบ่งเป็น 3 types ได้แก่

flu_HA.gif (11542 bytes)

flu_NA.gif (14032 bytes)

Type A แบ่งย่อยเป็นหลาย subtypes ตามความแตกต่างของ H และ N antigens พบในคนและสัตว์ชนิดต่างๆ
- คน พบ 3 ชนิดได้แก่ H1N1, H2N2, H3N2 และตัวปัญหา  H5N1 พบในคนเมื่อปี พ.ศ. 2540 ที่ประเทศฮ่องกง
- สุกร พบ 3 ชนิดได้แก่ H1N1, H1N2 และ H3N2
- ม้า พบ 2 ชนิดได้แก่ H3N8 และ H7N7
- สัตว์ปีก พบทุกชนิดได้แก่ H1-15 และ N1-9
type B ไม่มี subtype พบเฉพาะในคน
type C ไม่มี subtype พบในคนและสุกร

influenza%20fig%201.gif (11807 bytes) influenza2.jpg (86743 bytes)
influenzavirus.gif (55685 bytes) virus-influenza.jpg (16988 bytes)

 

ลักษณะและความทนทานของเชื้อ
เชื้อไวรัสนี้มีเปลือกหุ้มจึงถูกทำลายได้ง่ายด้วยความร้อน (เช่น ที่อุณหภูมิ 56oC นาน 3 ชั่วโมง ที่อุณหภูมิ 60oC นาน 30 นาที) และสารเคมีต่างๆ เช่น สารที่มีคุณสมบัติในการละลายไขมัน (lipid solvents), formalin, betapropiolactone, oxidizing agents, sodium dodecylsulfate, hydroxylamine, ammonium ions และ iodine compounds เชื้อนี้สามารถคงอยู่ได้นานในสิ่งขับถ่าย เช่น น้ำมูก น้ำตา น้ำลาย เสมหะ อุจจาระ ฯ
เชื้อนี้สามารถเกิดการเปลี่ยนแปลงทาง antigenicity ได้ง่าย โดยมีการเปลี่ยนแปลงที่ gene เพียงเล็กน้อย (antigenic drift) หรือมีการเปลี่ยน gene ในกรณีที่เซลล์มีการติดเชื้อ 2 subtypes ที่แตกต่างกัน กลายเป็น subtype ใหม่ (antigenic shift)

การติดเชื้อในสัตว์ปีก (Avian influenza) แบ่งออกเป็น
1. Apathogenic and mildly pathogenic avian influenza เป็นชนิดที่ไม่แสดงอาการ และที่ทำให้มีอาการป่วยเพียงเล็กน้อย พบได้ในประเทศต่างๆ ทั่วโลกอาจมีสาเหตุจากเชื้อชนิด H1-15
2. Highly pathogenic avian influenza (HPAI) หรือเดิมเรียกว่า Fowl plague เป็นชนิดที่ทำให้เกิดอาการรุนแรงมากมีอัตราการตายสูง มีรายงานการระบาดในบางประเทศเท่านั้น เช่น สหรัฐอเมริกา เม็กซิโก ประเทศยุโรป ออสเตรเลีย ฮ่องกง และปากีสถาน ในประเทศไทยไม่เคยมีการระบาดของโรคนี้ แม้ว่าจะเป็นโรคในพระราชบัญญัติโรคสัตว์ พ.ศ.2499

ข้อกำหนดที่แสดงว่าเชื้อที่แยกได้เป็นชนิด HPAI
OIE
1. เชื้อ avian influenza virus (AIV) ที่ทำให้ไก่ทดลองอายุ 4-6 สัปดาห์ที่ได้รับเชื้อโดยการฉีดเข้าเส้นเลือดตายภายใน 10 วัน จำนวนมากกว่า หรือเท่ากับ 75% (6/8 ตัว)
2. เชื้อชนิด H5, H7 หรือชนิดอื่นที่ไม่เป็นไปตามข้อที่ 1 แต่มีการเรียงตัวของกรดอะมิโนตรงตำแหน่ง hemagglutinin cleavage ใกล้เคียงกับเชื้อชนิด highly pathogenic avian influenza virus
3. เชื้อ AIV ชนิดที่ไม่ใช่ H5 หรือ H7 แต่ทำให้ไก่ทดลองจำนวน 8 ตัวตาย 1-5 ตัว และสามารถเจริญเติบโตและทำให้เซลล์เพาะเลี้ยงเกิดการเปลี่ยนแปลงได้โดยไม่มี trypsin

EU
1. มีค่า Intravenous pathogenicity index (IVPI) ในไก่ทดลองอายุ 6 สัปดาห์ มากกว่า 1.2
2. เชื้อชนิด H5 หรือ H7 ที่มี basic amino acids หลายตัวตรงตำแหน่ง hemagglutinin cleavage

การแพร่กระจายของเชื้อ AIV
เนื่องจากความแตกต่างของ basic amino acids (Iysine, arginine) ตรงตำแหน่ง hemagglutinin cleavage ระหว่าง เชื้อชนิดไม่รุนแรงและชนิดรุนแรงมาก ความสามารถในการเจริญเติบโตของเชื้อในร่างกายสัตว์จึงแตกต่างกัน เชื้อชนิดไม่รุนแรงสามารถเจริญได้ในเซลล์ของทางเดินหายใจ และทางเดินอาหารเท่านั้น แต่เชื้อชนิดรุนแรงมากสามารถเจริญในเซลล์อวัยวะอื่นๆ ได้ จึงทำให้เกิดอาการป่วยอย่างรุนแรง
การแพร่ของเชื้อ AIV จากสัตว์ที่ติดเชื้อทางสิ่งขับถ่ายต่างๆ โดยเฉพาะทางอุจจาระของนกเป็ดน้ำ ซึ่งมักเป็นตัวอมเชื้อแต่ไม่แสดงอาการ ทำให้มีเชื้อปนเปื้อนอยู่ในแหล่งน้ำได้เป็นเวลานาน
จากการระบาดของ HPAI ครั้งใหญ่ในสหรัฐอเมริกาเมื่อปี ค.ศ.1983-1984 Cappucci และคณะรายงานการพบเชื้อนี้ได้ทั้งที่เปลือกไข่และภายในไข่จากแม่ไก่ที่ติดเชื้อ
การติดต่อในสัตว์เกิดขึ้นได้ทั้งทางตรงโดยการสัมผัสกับสัตว์ป่วยและสิ่งขับถ่ายจากสัตว์ป่วย และทางอ้อมจากเชื้อที่ปนเปื้อนในน้ำ อาหาร เสื้อผ้า รองเท้า พาหนะ และอื่นๆ

flu2life.gif (16194 bytes)


หน้าหลัก1 , 2 , 3 , 4 , 5 , แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับไข้หวัดนก