เมนูหลัก Main

ຫນ້າຫຼັກ  

 

  ประวัติ  History   ປະຫວັດ

 

 

 

  บุคลากร    staff     ພະນັກງານ

 

 

  E/font>วลาทำการ     OPENING HOURS                ເປີດ       

 

  บริการ   service   ບໍລິການ

 

  หนังสือใหมE/font>     new book     ປື້ມໃຫມ່

 

  การเชื่อมโยงเว็ป    links Web Vet      ຕິດຕໍ່ ພົວພັນ

     

 

 

  บริการ : Service :

    บริการของห้องสมุด

บริการยืม-คืนทรัพยากรห้องสมุด


เป็นการให้บริการยืมและรับคืนทรัพยากรสารสนเทศ โดยระบบห้องสมุดอัตโนมัติ ด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ บริเวณเคาน์เตอร์ยืม-คืน  บริเวณใกล้ประตูทางเข้าห้องสมุดและให้บริการตามเวลาที่ห้องสมุดเปิดบริการ ตามสิทธิการยืมของสมาชิกห้องสมุดแต่ละประเภท ผู้มีสิทธิยืมหนังสือได้ต้องทำบัตรสมาชิกห้องสมุด โดยแสดงบัตรข้าราชการ บัตรนักศึกษา หรือบัตรสมาชิกห้องสมุด ที่มีรหัส บาร์โค้ดทุกครั้งที่ติดต่อยืมทรัพยากร

 

หากต้องการนำหนังสือ/สิ่งพิมพ์ต่าง ๆ ไปใช้นอกห้องสมุด ต้องติดต่อขอยืมที่เคาน์เตอร์ยืม-คืน  โดยมีระเบียบดังนี้

  • ใช้บัตรสมาชิกของตนเองในการยืมและรับผิดชอบหนังสือ/สิ่งพิมพ์ที่อยู่ในรายการยืมของตน
  • หลีกเลี่ยงการขีด-เขียนลงในตัวเล่ม
  • สงวนหนังสือ/สิ่งพิมพ์ที่ยืมตามกำหนดเวลา หากเกินกำหนดจะต้องเสียค่าปรับตามระเบียบการยืมของห้องสมุด
  • ระมัดระวังการทำให้ตัวเล่มเกิดความเสียหายหรือสูญหาย ซึ่งจะต้องเสี่ยค่าปรับหนังสือ/สิ่งพิมพ์สูญหายหรือซื้อทดแทน ค่าดำเนินการและเสียค่าปรับเกินกำหนดส่ง
  • ไม่มอบบัตรสมาชิกหรือบัตรที่ใช้เป็นบัตรสมาชิกของแต่เองให้ผู้อื่นนำมาใช้
  • แจ้งให้ห้องสมุดทราบ กรณีมีการเปลี่ยนแปลงชื่อ นามสกุล หน่วยงาน สถานภาพ และที่อยู่ เพื่อแก้ไขข้อมูลสมาชิกให้ถูกต้อง
  • หากบัตรสูญหาย ต้องแจ้งให้ห้องสมุดทราบเพื่อบันทึกในระเบียน ซึ่งเป็นการป้องกันกรณีที่ผู้อื่นนำบัตรนั้นมายืมหนังสือ/สิ่งพิมพ์ต่าง ซึ่งจะทำให้เกิดปัญหาแก่ผู้เป็นเจ้าของบัตรจริงในการรับผิดชอบหนังสือ/สิ่งพิมพ์ที่อยู่ในรายการยืมของตน
  • หากผู้ใช้มีค่าปรับสูงเกินกว่าจำนวนที่ห้องสมุดกำหนดไว้ หรือค้างส่งทรัพยากรนานเกินเวลาที่กำหนดไว้ จะไม่มีสิทธิ์ยืมหนังสือ/เอกสารหรือใช้บริการอื่นใดที่เกี่ยวข้องกับการ ยืม-คืนได้

 

หากต้องการนำหนังสือ/สิ่งพิมพ์ต่าง ๆ ที่ถูกยืมออกนอกห้องสมุด ติดต่อขอส่งคืนที่เคาน์เตอร์ยืม-คืน ชั้น 2 อาคาร 1 หอสมุดกลาง หรือเคาน์เตอร์ยืม-คืนห้องสมุดคณะต่าง ๆ หรือส่งคืนในตู้รับคืนที่อยู่ด้านหน้าของห้องสมุดคณะแต่ละแห่ง
 

การจอง

มาชิกแจ้งความประสงค์ที่จะขอจองหนังสือซึ่งต้องการใช้ แต่มีผู้อื่นยืมไปก่อนได้ที่เคาน์เตอร์บริการยืม-คืน  หรือจากหน้าจอสืบค้นทั้ง WebOPAC (คู่มือการจอง “holdbook.pdf”) เพื่อให้ห้องสมุดจัดเก็บหนังสือนั้นไว้ให้เมื่อได้รับตัวเล่มคืน ทั้งนี้ห้องสมุดจะเก็บไว้บนชั้นจองที่เคาน์เตอร์ยืม-คืน 2 วัน นับตั้งแต่วันที่รับคืน หากเกินกำหนดจะนำขึ้นชั้นบริการตามปกติ
ผู้จองสามารถตรวจสอบรายการหนังสือขอจองได้ที่ชั้นแสดงรายชื่อผู้จอง หรือเคาน์เตอร์ยืม-คืน หรือหน้าจอการสืบค้นทาง Web OPAC
http://kkulib.kku.ac.th/patroninfo

 

การยืมต่อ (Renew)

มาชิกแจ้งความประสงค์ที่จะขอยืมหนังสือซึ่งได้ยืมออกไปแล้ว เพียงนำบัตรข้าราชการ/บัตรนักศึกษา/บัตรสมาชิกห้องสมุดที่มีรหัสบาร์โค้ด มาติดต่อได้ที่เคาน์เตอร์บริการยืม-คืน   หรือจากหน้าจอการสืบค้นทั้ง WebOPAC (คู่มือการยืมต่อ) ซึ่งไม่จำเป็นต้องนำตัวเล่มมาด้วย ทั้งนี้ห้องสมุดจะอนุญาตให้ยืมต่อได้เพียง 1 ครั้ง เท่านั้น หากเกินกำหนดจะต้องนำตัวเล่มมาส่งคืนที่ห้องสมุด
ผู้ใช้สามารถทำการยืมต่อด้วยตนเองได้ที่หน้าจอ“ตรวจสอบการยืม/ยืมต่อด้วยตนเอง”
http://kkulib.kku.ac.th/patroninfo

 

 

 

บริการยืมระหว่างห้องสมุด : Interlibrary Loan Request
         
การบริการยืมระหว่างห้องสมุด  เป็นการติดต่อขอยืมหนังสือหรือสิ่งพิมพ์ (ซึ่งผู้ใช้ตรวจสอบแล้วพบว่าไม่มีในห้องสมุดคณะฯ  และห้องสมุดอื่นๆของ มหาวิทยาลัยขอนแก่น )  จากห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษารัฐบาล  ที่มีหนังสือเล่มนั้น ๆ  และมีการติดต่อในเรื่องความร่วมมือการยืมระหว่างห้องสมุด  โดยทางห้องสมุดคณะฯจะดำเนินการ ติดต่อขอยืมให้  โดยผู้ใช้บริการจะต้อง้เสียค่าใช้จ่ายเอง

บริการInternet

     ห้องสมุดคณะฯได้จัดให้มีเครื่องคอมพิวเตอร์สำหรับบริการอินเทอร์เน็ต  ไว้เป็นสัดส่วนสำหรับอาจารย์ ข้าราชการ และนักศึกษา  จำนวน  15  เครื่อง  ภายใน ห้องสมุดคณะฯ และที่ห้อง Cluster อีก 16 เครื่อง สามารถติดต่อขอใช้บริการได้ตั้งแต่เวลา  8.30 น.-16.00 น.  ซึ่งสามารถ ใช้บริการพิมพ์ข้อมูล  และบันทึกข้อมูลจากอินเทอร์เน็ตได้โดยเสียค่าบริการตามอัตรา ที่ห้องสมุดคณะฯตั้งไว้

บริการตอบคำถามช่วยการค้นคว้า

 

เป็น บริการที่ต้องมีปฏิสัมพันธ์กับผู้ใช้โดยตรง ให้บริการค้นหาสารสนเทศที่มีในห้องสมุดและแหล่งสารสนเทศอื่นๆ ทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ แนะนำและสอนการใช้ห้องสมุดและทรัพยากรสารสนเทศอย่างถูกต้องเหมาะสม รวมถึงเผยแพร่และแลกเปลี่ยนสารสนเทศ ให้ผู้ใช้ได้รับความรู้ข่าวสารและใช้ประโยชน์จากสารสนเทศ ที่มุ่งผู้ใช้เป็นศูนย์กลางของบริการ โดยมีเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเครื่องมือช่วยในการทำงานให้มีประสิทธิภาพในด้านความถูกต้อง ความรวดเร็ว และสามารถสืบค้นได้อย่างกว้างขวางบนอินเตอร์เน็ต เพื่อช่วยให้ผู้ใช้บริการได้ค้นหาสารนิเทศ ที่ต้องการได้อย่างสะดวก รวดเร็ว และถูกต้อง

       ซึ่งผู้ใช้บริการสามารถเลือกใช้บริการตอบคำถามและช่วยการค้นคว้าได้หลายช่องทาง ได้แก่ ติดต่อด้วยตนเอง หรือผ่านทางโทรศัพท์ หรือผ่านทางเว็บไซต์ของห้องสมุด

 

  ขอบเขตการให้บริการ

การบริการตอบคำถามและช่วยการค้นคว้า (Reference Service) ได้แก่
1.1
ตอบคำถามผู้ใช้บริการ เป็นการช่วยค้นหาสารสนเทศ (Information) ที่ผู้ใช้บริการต้องการจากสิ่งพิมพ์โสตทัศนวัสดุที่มีให้บริการในหอสมุดกลางและห้องสมุดคณะต่างๆ หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัยขอนแก่น
1.2
การตอบคำถามทางโทรศัพท์และจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (e-mail) เป็นบริการตอบคำถามและช่วยการค้นคว้าอีกรูปแบบหนึ่ง ซึ่งผู้ใช้สามารถใช้โทรศัพท์หรือจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (e-mail) ติดต่อเพื่อสอบถามคำถามหรือข้อมูลอื่นๆ จากบรรณารักษ์โดยไม่ต้องมาติดต่อด้วยตนเอง
1.3
การสืบค้นสารสนเทศจากฐานข้อมูลต่างๆ เป็นบริการช่วยเหลือผู้ใช้ในการค้นหาสารสนเทศที่มีอยู่ในห้องสมุดและฐานข้อมูลต่างๆ ตามที่ผู้ใช้ต้องการ ได้แก่ ฐานข้อมูลของห้องสมุด (WebOPAC) ฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ และสารสนเทศบนอินเทอร์เน็ต
1.4
ช่วยเหลือและค้นหาตัวเล่มเอกสารต่างๆ ที่ผู้ใช้ต้องการในกรณีที่หาไม่พบ เป็นการช่วยเหลือผู้ใช้ในการค้นหาตัวเล่มเอกสารที่ไม่พบบนชั้น ซึ่งผู้ใช้สามารถกรอกแบบคำร้องแจ้งการหาหนังสือไม่พบ ได้ที่เคาน์เตอร์บริการยืม-คืน จากนั้นบรรณารักษ์จะรับแบบคำร้องแจ้งหาหนังสือไม่พบ และประสานงานกับเจ้าหน้าที่จัดชั้นหนังสือ ติดตามผล และนัดหมายวันรับเอกสารหรือแจ้งผลการค้นหาให้ทราบต่อไป โดยจะแจ้งผล 2 ครั้ง ภายใน 3 วันทำการ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความต้องการใช้ของผู้ใช้เป็นหลัก
1.5
รวบรวมบรรณานุกรมเฉพาะเรื่อง เป็นบริการสำหรับอาจารย์ ข้าราชการ นักวิจัย สังกัดมหาวิทยาลัยขอนแก่น ที่ต้องการรายชื่อสิ่งพิมพ์เพื่อใช้ประกอบการสอนและการทำวิจัย ตลอดจนประเด็นที่น่าสนใจในขณะนั้น บรรณารักษ์จะรวบรวมรายชื่อสิ่งพิมพ์ในเรื่องนั้นๆ ที่มีอยู่ในห้องสมุดมหาวิทยาลัยขอนแก่นเพื่อสามารถติดตามฉบับพิมพ์ได้ เช่น บรรณานุกรมวิทยานิพนธ์ของมหาวิทยาลัยขอนแก่น บรรณานุกรมกองทุนกู้ยืมเพื่อการศึกษาที่มีอยู่ในหอสมุดกลาง เป็นต้น
1.6
แนะนำการใช้ห้องสมุดและการใช้เครื่องมือช่วยสืบค้นสารสนเทศ เป็นการแนะนำผู้ใช้ที่ยังไม่เคยใช้หรือรู้จักห้องสมุดมาก่อนให้รู้จักการใช้ห้องสมุด วิธีสืบค้นและการใช้เครื่องมือช่วยค้นต่างๆ ได้แก่ ฐานข้อมูลทรัพยากรห้องสมุด (WebOPAC) ฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ ที่ห้องสมุดจัดให้บริการ เพื่อให้ผู้ใช้สามารถค้นคว้าและใช้เครื่องมือช่วยค้นของห้องสมุดได้ด้วยตนเอง และหากเกิดข้อสงสัยในการใช้ทรัพยากรสารสนเทศและบริการที่จัดให้บริการในครั้งต่อไป อาจมาขอคำปรึกษาจากบรรณารักษ์ได้อีกครั้งหนึ่ง

1.7 แนะนำการทำผลงานทางวิชาการ การเขียนบรรณานุกรมหรือเอกสารอ้างอิง เป็นการแนะนำและให้คำปรึกษาแก่ผู้ใช้ในการจัดทำผลงานทางวิชาการ เช่น รายงาน ตำราวิชาการ บทความ วิจัย วิทยานิพนธ์ เป็นต้น นับตั้งแต่การค้นคว้าเอกสาร ตำรา การลงรายการเชิงอรรถ การเขียนเอกสารอ้างอิง/บรรณานุกรม วิธีการจัดทำรูปเล่มให้ถูกต้องตามรูปแบบที่กำหนด ตลอดจนให้คำแนะนำศึกษาเพิ่มเติมจากหนังสือคู่มือการทำรายงานหรือทำวิทยานิพนธ์ที่มีอยู่ในห้องสมุดประกอบอีกด้วย นอกจากนี้ ยังช่วยเหลือผู้ใช้ให้รู้จักวิธีรวบรวมบรรณานุกรม เพื่อประกอบการทำผลงานทางวิชาการตามเนื้อหาหรือหัวข้อที่ผู้ใช้สนใจ และอธิบายถึงวิธีการลงรายการบรรณานุกรมอย่างถูกต้อง ตลอดจนชี้แหล่งวารสารในการตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิชาการด้วย

1.8 แนะนำหรือชี้แนะแหล่งสารสนเทศ เป็นการช่วยผู้ใช้ในลักษณะชี้แนะโดยเชื่อมโยงผู้ใช้ที่ต้องการสารสนเทศกับแหล่งสารสนเทศภายนอกที่ให้บริการได้ตรงตามความต้องการ ได้แก่ แหล่งสารสนเทศบนอินเทอร์เน็ต สถาบัน องค์การ และบุคคล

1.9 บริการสืบค้นกาอ้างถึงผลงานทางวิชาการ (Cited Reference) เป็นการช่วยสืบคนการอ้างถึงผลงานทางวิชาการ (Cited Reference) แต่ละท่าน ของอาจารย์ นักวิจัย และนักวิชาการ ของมหาวิทยาลัยขอนแก่น จากฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ที่สำนักวิทยบริการให้บริการ 

1.10 บริการยืมทรัพยากรกรณีพิเศษ เป็นบริการหนึ่งที่ช่วยให้ผู้ใช้ที่มีความจำเป็นต้องใช้หนังสือที่ห้องสมุดไม่อนุญาตให้ยืมออก  เช่น หนังสืออ้างอิง วิทยานิพนธ์ฉบับห้ามยืมออก เป็นต้น โดยบรรณารักษ์ต้องพิจารณาถึงเหตุผลความจำเป็นและความเหมาะสมที่อนุญาตให้ผู้ใช้ยืมออก การพิจารณาให้ถือตามเงื่อนไขและกฎเกณฑ์ในการให้ยืมกรณีพิเศษ

1.11 บริการห้องเรียนรู้กลุ่มย่อย เป็นบริการหนึ่งที่จัดบริการห้องสำหรับเรียนรู้ร่วมกันให้กับผู้ใช้ประมาณ 3-10 คนขึ้นไป เพื่อปรึกษาหารือ หรือทำรายงาน หรือทำวิจัย หรือวิทยานิพนธ์ โดยอำนวยความสะดวกในการใช้ทรัพยากรสารสนเทศของห้องสมุดประกอบ ทั้งนี้เพื่อส่งเสริมการเรียนการสอนและการวิจัย

การรับเรื่องบริการยืมระหว่างห้องสมุด ถือเป็นส่วนหนึ่งของบริการตอบคำถามและช่วยการค้นคว้าในการเป็นสื่อกลางในการประสานงานรับคำร้องขอยืมระหว่างห้องสมุด เพื่ออำนวยความสะดวกในการติดต่อของผู้ใช้ และทำให้การดำเนินงานบริการยืมระหว่างห้องสมุดรวดเร็วมากยิ่งขึ้น

การรับแจ้งผลการหาหนังสือไม่พบบนชั้น เป็นบริการหนึ่งที่ช่วยผู้ใช้ในการหาหนังสือไม่พบ โดยผู้ใช้บริการยื่นคำร้อง บรรณารักษ์บริการตอบคำถามเป็นผู้รับเรื่องดำเนินการค้นหาหนังสือเบื้องต้นและส่งต่อให้เจ้าหน้าที่จัดชั้น โดยมีเงื่อนไขการแจ้งผลผู้ใช้บริการ การแจ้งผลจะแจ้ง 2 ครั้ง ภายใน 3 วันทำการ ทั้งนี้จะต้องคำนึงถึงความต้องการใช้ของผู้ใช้บริการเป็นหลัก

1.12 บริการห้องอ่านหนังสือเฉพาะกลุ่ม/ห้องประชุมเฉพาะกลุ่ม Group-study room

1.13 บริการที่นั่งอ่านหนังสือและถ่ายเอกสารให้บุคคลทั่วไป และผู้มาใช้บริการอาคารขวัญม.

1.14 บริการส่งเสริมการอ่านที่โรงพยาบาลสัตวแพทย์

บริการ Document delivery D.D.

บริการรับส่งทรัพยากรสารสนเทศภายในมหาวิทยาลัยขอนแก่น (Document Delivery-D.D.) เป็นการให้บริการส่งสารสนเทศ
ได้แก่ หนังสือ วิจัย วิทยานิพนธ์ โสตทัศนวัสดุ สำเนาบทความวารสาร ที่มีผู้ใช้บริการส่งคำร้องขอยืม และรับคืนทรัพยากรสารสนเทศทุกประเภทจากจุดบริการ

ผู้มีสิทธิใช้บริการ
 

1. อาจารย์ประจำ อาจารย์พิเศษ ข้าราชการ และ พนักงานมหาวิทยาลัยฯ ที่เป็นสมาชิกห้องสมุด
 

2. นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา
 

3. เป็นนักศึกษาปริญญาตรี ที่มีหลักสูตรการศึกษามากกว่า 4 ปี (อนุญาตให้ใช้บริการได้เฉพาะนักศึกษาชั้นปีที่ 5 ขึ้นไป)

 

ขั้นตอนการขอใช้บริการ

ผู้ใช้บริการควรตรวจสอบรายละเอียดจาก WebOPAC ก่อนส่งคำร้องทุกครั้ง และเลือกช่องทางในการใช้บริการได้ ดังนี้

·  ผู้ใช้บริการยื่นคำร้องขอให้บริการที่ห้องสมุดคณะที่สังกัด หรือ

·  ผู้ใช้บริการขอใช้บริการผ่านอินเตอร์เน็ต มีขั้นตอนดังนี้

1.
เข้าสู่เว็บไซต์ของสำนักวิทยบริการ http://library.kku.ac.th
2.
คลิกบริการ Document Delivery จากคอลัมน์บริการของห้องสมุด
3.
คลิกเลือกห้องสมุดคณะที่เป็นเจ้าของหนังสือ ในช่อง ส่งคำขอใช้บริการ D.D. ผ่านระบบ Internet
4.
กรอกรายละเอียดส่วนตัวและรายการทรัพยากรที่ต้องการให้ครบถ้วนพร้อมระบุจุดรับทรัพยากร (ตามห้องสมุดที่สังกัด)
5.
ตรวจสอบความถูกต้อง
6.
คลิก "ยืนยัน"
7.
ผู้ใช้บริการไปรับทรัพยากรตามจุดที่ระบุ
(โปรดตรวจสอบ E-mail เพื่อรับทราบข้อมูลการดำเนินการจากเจ้าหน้าที่)
 

คู่มือแนวปฏิบัติการรับ-ส่งทรัพยากรสารสนเทศ ปี 2551 (ฉบับปรับปรุงใหม่)
 

แผนภูมิบริการรับส่งทรัพยากรสารสนเทศภายในมหาวิทยาลัยขอนแก่น
 

ผู้ประสานงานบริการ Document Delivery-D.D.
 

VCD แนะนำการใช้บริการ Document Delivery-D.D.
 

ส่งคำขอใช้บริการ D.D. ผ่านระบบ Internet
 

แบบคำขอใช้บริการ DD ( ยื่นด้วยตนเอง )
 

 

 

 

 

 

 

 

 

The Faculty of Veterinary Medicine library

兽医学院孔敬大学

                                            ຫໍສະຫມຸດຄະນະສັດຕະວະແພດ