บทสรุปสาระสำคัญ  รายวิชา 000142

วิชาคุณค่าชีวิตเป็นรายวิชาศึกษาทั่วไปในกลุ่มวิชามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์  เนื้อหาวิชามุ่งหวังให้นักศึกษาเรียนรู้และเข้าใจคุณค่าชีวิต  เพื่อให้ดำเนินชีวิตอย่างมีคุณค่าและเป็นประโยชน์ต่อตนเองและผู้อื่น  รายวิชานี้มีเนื้อหา 7 หน่วย ประกอบด้วย

หน่วยที่ 1 กล่าวถึงแนวคิดเกี่ยวกับชีวิต  เพื่อให้ทราบว่า ชีวิตเป็นสิ่งที่มีคุณค่า มีความหมายและความสำคัญอย่างยิ่ง มนุษย์ต้องถามปัญหากับตัวเองว่า ชีวิตคืออะไร ความหมายของชีวิตคืออะไร องค์ประกอบของชีวิตคืออะไร หากมนุษย์เข้าใจส่วนประกอบของชีวิตตนเองไม่ถูกต้องตามความเป็นจริง อาจทำให้ชีวิตทั้งชีวิตต้องเดินทางผิดตลอดชีวิตเลยก็ได้ เพราะถ้าเข้าใจอย่างถูกต้อง ก็จะมีท่าทีและแสดงพฤติกรรมออกมาอย่างถูกต้อง ดีงามและมีความสอดคล้องความจริงมากที่สุด เมื่อมนุษย์เข้าใจความหมายของชีวิต และส่วนประกอบของชีวิตอย่างถูกต้องแล้ว มนุษย์ก็สามารถที่จะวางเป้าหมายชีวิต หรือวางแผนชีวิตตนเองได้สอดคล้องกับความเป็นจริงมากที่สุด และมีคุณค่ามากที่สุด ไม่ใช่ดำเนินชีวิตอย่างเลื่อนลอย ไร้จุดหมายปลายทาง  ดังนั้นเพื่อให้ชีวิตดำเนินไปสู่เป้าหมายได้อย่างถูกต้อง ปลอดภัยและสะดวกนั้น ต้องอาศัยแนวคิดหรือหลักการดำเนินชีวิต หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า แผนที่ชีวิต  

เนื้อหาในหน่วยที่ 2  จึงกล่าวต่อไปถึง ปรัชญาและแนวคิดของการดำเนินชีวิต  ซึ่งหลักการดำเนินชีวิตมีอยู่มากมาย ปรัชญาเหมือนเส้นทางเดินของชีวิตที่มนุษย์สามารถเลือกได้ตามความสมเหตุสมผล การเข้าใจความหลากหลายในปรัชญาและแนวคิด โลกทัศน์หรือปรัชญาต่างๆจะช่วยให้เรามีทางเลือกมากขึ้นและสามารถเลือกประยุกต์ใช้หลักการที่ดีที่สุดสำหรับชีวิตของแต่ละคน เมื่อได้เลือกหลักการ ปรัชญา หรือเส้นทางการดำเนินชีวิตอย่างมีเสรีภาพแล้ว ก็ลงมือเดินทางตามเส้นทางนั้น และผลจากการเลือกเดินทางชีวิตนี้จะนำไปสู่เป้าหมายสูงสุดของชีวิตได้ ตามรูปแบบของชีวิตที่เลือกแล้ว ซึ่งทุกครั้งก็จะส่งผลลัพธ์ทั้งโดยตรงและโดยอ้อม ทั้งที่เป็นคุณประโยชน์หรือโทษอันตราย ขึ้นอยู่กับว่า คนๆนั้นพร้อมที่จะเผชิญและปฏิบัติต่อมันอย่างไร

ในหน่วยที่ 3 เป็นเรื่องของหลักยึดเหนี่ยวของชีวิตในยุคโลกาภิวัตน์  ก็คือศาสนาเพราะศาสนาเป็นที่รวมของอาหารทางจิตวิญญาณของมนุษย์ทั้งหมด   ตั้งแต่ระดับพื้นฐานจนถึงระดับสูงสุด  การที่มนุษย์มีศาสนาจึงทำให้มนุษย์มีความสมบูรณ์โดยรอบด้าน  ศาสนามีส่วนทำให้อุดมคติของมนุษย์เป็นไปได้และมีอยู่จริงในโลก  มีส่วนเสริมสร้างรูปแบบการดำเนินชีวิตชีวิตของมนุษย์ในยุคโลกาภิวัตน์ให้มีคุณธรรมจริยธรรม  และศาสนายังเป็นคุณูปการแก่ศาสตร์อื่นๆ  เพื่อให้เกิดประโยชน์และคุณค่าแก่มนุษย์อย่างแท้จริง 

สำหรับหน่วยที่ 4 เป็นศาสตร์แห่งความเข้าใจตนเองและผู้อื่น   การวิเคราะห์ตนเองและผู้อื่นจะทำให้บุคคลเข้าใจตนเองและผู้อื่นตามความเป็นจริงในการดำเนินชีวิต การรู้เท่าทันตนเองในมุมมองของศาสนาพุทธ คริสต์ และอิสลามที่มีแก่นแกนที่สำคัญคือ สติ  ความรัก  สันติสุขตามลำดับ  ทั้งหมดเป็นไปเพื่อชีวิต สังคมที่ดีและเจริญก้าวหน้า

ในหน่วยที่ 5  มีเนื้อหาเกี่ยวกับคุณธรรมและจริยธรรมในตนเองและการอยู่ร่วมกันในสังคม    การที่คนเราจะอยู่ร่วมกันในสังคมได้อย่างมีความสุขนั้นต้องมีคุณธรรมและจริยธรรมในตนเอง และยังต้องปฏิบัติตนให้เหมาะสมกับตำแหน่งหรือสถานะของตน ดังนั้นถ้าจะถือเอาตนเองเป็นศูนย์กลางแล้ว เราก็จะต้องทำหน้าที่ให้เหมาะสมกับคนรอบข้างที่มีความสัมพันธ์กับเรา ในฐานะบุตรธิดา ศิษย์ คฤหัสถ์ เพื่อนและผู้บังคับบัญชาที่ดีต่อบิดามารดา ครู อาจารย์ พระ มิตรสหาย และคนที่อยู่ใต้บังคับบัญชาของเรา เช่น คนงาน ตามลำดับ ชีวิตก็จะมีความสุข สังคมก็น่าอยู่  อย่างไรก็ตาม ในช่วงชีวิตของมนุษย์ย่อมประสบปัญหามากมาย  ตั้งแต่วัยเด็กจนถึงวัยชรา 

เนื้อหาในหน่วยที่ 6  กล่าวถึง การเผชิญและแก้ไขปัญหาชีวิต  แนวคิดและทักษะ  ในการเผชิญปัญหาชีวิตมีแนวทางการแก้ไขอยู่ 3 ระดับ คือ  ระดับแรกเป็นการแก้ปัญหาบนพื้นฐานของอารมณ์ ซึ่งเป็นเพียงการกลบเกลื่อนปัญหาด้วยกิจกรรมต่างๆเพื่อเกิดความผ่อนคลาย แต่ยังมิได้เป็นการแก้ปัญหาอย่างแท้จริง ในระดับต่อมาเป็น การแก้ปัญหาบนพื้นฐานของเหตุผล ระดับนี้เป็นการแก้ปัญหาโดยเริ่มจากการยอมรับว่ามีปัญหาจริง   หาสาเหตุ  เพื่อให้ได้มาซึ่งวิธีการแก้ไขที่เหมาะสมตามหลักการและเหตุผล  ระดับสุดท้ายเป็นการแก้ปัญหาในระดับสูงบนพื้นฐานของปัญญาหรือ  อริยสัจ  4  ซึ่งการใช้เหตุผลเพียงอย่างเดียวไม่สามารถแก้ไขหรือดับทุกข์ได้

หน่วยที่ 7 เป็นเรื่องของการฝึกภาคปฏิบัติด้วยการลงมือกระทำ เป็นประสบการณ์ตรงที่สามารถตรวจสอบความถูกต้องได้ เป็นก้าวแรกและก้าวสำคัญยิ่งในการทำความเข้าใจในชีวิตของตนเอง ในขณะเดียวกันก็เป็นกระบวนการและขั้นตอนของการพัฒนาชีวิตให้มีคุณธรรมและจริยธรรมที่พึงประสงค์ เป็นการทดสอบ ทดลองความดีงามของชีวิตเพื่อให้เข้าใจชัดเจนแจ่มแจ้งมากขึ้น และถือเป็นปฏิปทาที่ต้องดำเนินการตลอดชีวิต ปราศจากการฝึกฝนแล้ว มนุษย์ก็ไม่มีอะไรที่แตกต่างไปจากสัตว์ประเภทอื่น เพราะมนุษย์เป็นสัตว์ที่ประเสริฐได้ก็ด้วยการฝึกฝนเท่านั้น


ประมวลรายวิชา   (Course  Syllabus)

วิชา 000  142  คุณค่าชีวิต (The Value of Life)

1.  จำนวนหน่วยกิต  :3(2-2-2)

2.  เงื่อนไขรายวิชา : ไม่มี

3.  สถานภาพของวิชา :  หลักสูตรวิชาทั่วไป  กลุ่มวิชา           (  ) ภาษา                                 

                (/ ) มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ 

                (  ) คณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์

4.  ผู้เรียน : นักศึกษาระดับปริญญาตรีทุกคณะ

5.  ภาคการศึกษาที่เปิดสอน  : ภาคการศึกษาต้น และภาคการศึกษาปลาย

6.  จำนวนชั่วโมงเรียน  ภาคทฤษฎี  30 ชม.  ภาคปฏิบัติ  30 ชม.  ศึกษาด้วยตนเอง 30 ชม.

7.  คณะกรรมการบริหารรายวิชา

ผศ. ประภาพร  ตั้งธนธานิช                ประธานกรรมการ

อ. ดลวิวัฒน์   แสนโสม                          กรรมการ

อ. นงลักษณ์  เมธากาญจนศักดิ์                กรรมการ

อ. เทพพร  มังธานี                                กรรมการ

รศ. จารุวรรณ นิพพานนท์                  กรรมการและเลขานุการ

8.    สังเขป/คำอธิบายรายวิชา  (Course  Description)

    แนวความคิดเกี่ยวกับชีวิต ความหมาย คุณค่าและเป้าหมายของชีวิต ปรัชญาและแนวคิดในการดำเนินชีวิต หลักยึดเหนี่ยวของชีวิต ศาสตร์แห่งความเข้าใจตนเองและผู้อื่น คุณธรรมและจริยธรรมในตนเองและการร่วมกันในสังคม การพัฒนาคุณธรรมและจริยธรรมในการดำเนินชีวิต  แนวคิดและทักษะในการเผชิญปัญหาชีวิต ฝึกปฏิบัติการทำความเข้าใจชีวิตและการพัฒนาคุณธรรม

Concept, meaning, value, and goal of life, philosophy and doctrine of living, concepts of self-understanding and empathy, virtues and ethics in self and social living, development of virtues and ethics for living, concepts of life’s problem facing and solving, practices in self-understanding and virtues and ethics developments)

9.  วัตถุประสงค์ของรายวิชา  (Course  Objectives)

1. ให้ผู้เรียนมีความเข้าใจความหมายและคุณค่าของชีวิต

2. ให้ผู้เรียนมีความเข้าใจในหลักยึดเหนี่ยวของชีวิต

3. ให้ผู้เรียนมีการพัฒนาทางด้านคุณธรรมและจริยธรรมในการดำเนินชีวิต

4. ให้ผู้เรียนและผู้สอนมีความสุขในการเรียนรู้

10. คุณลักษณะพึงประสงค์ของผู้เรียนที่คาดหวัง  :

1. มีความสามารถในการคิดวิเคราะห์ทางวิชาการอย่างมีเหตุผล

2.  มีวิจารณญาณและความสามารถในการแก้ปัญหา  

3. สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ดี 

4: มีจริยธรรม คุณธรรมและความซื่อสัตย์ในวิชาชีพ 

5.  มีความรับผิดชอบต่อสังคมและปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดี 

6.  มีวินัยและค่านิยมที่ดี 

7.  เสียสละ  อุทิศตน และเห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวม

12.  มีจิตสำนักในการใฝ่ศึกษาอย่างต่อเนื่อง

 

11.  เนื้อหารายวิชาและกระบวนการเรียนรู้

หน่วยที่

ชื่อหน่วย/หัวข้อเนื้อหา

จำนวนชั่วโมง

กิจกรรมการเรียนรู้

ทฤษฎี

ปฏิบัติ

การศึกษาด้วยตนเอง

1

แนวคิดเกี่ยวกับชีวิต

4

-

4

- กรณีศึกษา

- ใบงาน

- อภิปรายทางวิชาการ

- นำเสนองาน

- ค้นคว้าจากแหล่งเรียนรู้

- แฟ้มสะสมงาน

2

ปรัชญาและแนวคิดของการดำเนินชีวิต

2

-

2

- ใบงาน

- อภิปรายทางวิชาการ

- นำเสนองาน

- ค้นคว้าจากแหล่งเรียนรู้

- แฟ้มสะสมงาน

 

3

หลักยึดเหนี่ยวของชีวิตในยุคโลกาภิวัตน์

6

-

6

- การบรรยาย

- กรณีศึกษา

- ใบงาน

- อภิปรายทางวิชาการ

- นำเสนองาน

- ค้นคว้าจากแหล่งเรียนรู้

- แฟ้มสะสมงาน

4

ศาสตร์แห่งความเข้าใจตนเองและผู้อื่น

6

-

6

- ใบงาน

- อภิปรายทางวิชาการ

- นำเสนองาน

- ค้นคว้าจากแหล่งเรียนรู้

- แฟ้มสะสมงาน

5

คุณธรรมและจริยธรรมในตนเองและการอยู่ร่วมกันในสังคม

6

-

6

- ใบงาน

- อภิปรายทางวิชาการ

- นำเสนองาน

- ค้นคว้าจากแหล่งเรียนรู้

- แฟ้มสะสมงาน

6

การเผชิญและแก้ไขปัญหาชีวิต  แนวคิดและทักษะ

4

-

4

- กรณีศึกษา

- ใบงาน

- อภิปรายทางวิชาการ

- นำเสนองาน

- ค้นคว้าจากแหล่งเรียนรู้

- แฟ้มสะสมงาน

7

การฝึกปฏิบัติเพื่อทำความ เข้าใจชีวิตและการพัฒนาคุณธรรม

-

30

-

- ศึกษานอกสถานที่

- ฝึกปฏิบัติ

- ใบงาน

- แฟ้มสะสมงาน

 12.  เอกสารประกอบการเรียนรู้/สื่อการเรียนรู้/วัสดุอุปกรณ์/เครื่องมือ

     12.1 เอกสารประกอบการเรียนรู้

                12.1.1 เอกสารประกอบการสอน

                12.1.2 คู่มือผู้เรียน

                12.1.3 หนังสืออ่านเพิ่มเติม

                12.1.4 บทความจากนิตยสารสิ่งพิมพ์และฐานข้อมูลต่างๆ        

12.2  สื่อการเรียนรู้

                12.2.1 power point

                12.2.2 สื่ออิเล็กทรอนิกส์/เว็บไซด์

                12.2.3 ภาพยนตร์/วิดิทัศน์

12.2.4 แผ่นใส/แผ่นทึบ

12.2.5 แหล่งเรียนรู้

-  วัด  สถานที่ปฏิบัติธรรม

 

12.3 วัสดุอุปกรณ์การเรียนรู้ -

12.4 เครื่องมือ –

 13.  การประเมินผลการเรียนรู้

13.1  เกณฑ์ขั้นต่ำของการผ่านรายวิชา

- มีเวลาเข้าชั้นเรียนไม่น้อยกว่า 80%  (ตามระเบียบ มข.)

- ผ่านการฝึกปฏิบัติในหน่วยที่ 7

13.2  การประเมินผล(สัดส่วนและวิธีการ) (รายละเอียดในภาคผนวก)   

 ภาคทฤษฎี  (70 %)

รายงานเดี่ยว 9 โครงงาน                                           16 %

รายงานกลุ่ม 9โครงงาน                                             18 %

บันทึกการเรียนรู้จากแฟ้มสะสมงาน 14  ครั้ง                    16 %

กิจกรรมกลุ่มและการมีส่วนร่วมในชั้นเรียน 6  ครั้ง               6 %

การนำเสนอผลงานกลุ่ม 8 ครั้ง                                    14 %

                รวม                                                      70 %

ภาคปฏิบัติ (30 %)

ใบงาน 2 โครงงาน                                                   9 %

แฟ้มสะสมงาน       3  วัน                                          6 %

กิจกรรม  3 วัน                                                       15 %

                รวม                                                    30 %

13.3.  เกณฑ์การประเมินผลการให้ระดับคะแนน(เกรด) 

- อิงเกณฑ์มหาวิทยาลัยขอนแก่น

 

สถานที่และเวลาเรียน  (ตาม  มข.30)

บรรยาย ทุกวันศุกร์    เวลา 8.30 – 11.00 น.

 ห้องเรียน sec 1  ห้อง B210 ชั้น 2 อาคารศูนย์วิชาการ มข.

                  sec 2  ห้อง B214 ชั้น 2 อาคารศูนย์วิชาการ มข.

ปฏิบัติการ  เวลา  08.00 – 18.00 น. (3 วัน)

ห้องเรียน  sec 1  เข้าค่ายฝึกปฏิบัติ                       

                 sec 2  เข้าค่ายฝึกปฏิบัติ                        

 

14.  ตารางการเรียนรู้

หน่วยที่ 1

สัปดาห์ที่

ว/ด/ป

เนื้อหา/กิจกรรม

ผู้สอน

Sec 01

Sec 02

1

 

 

27  ตุลาคม 49

บทนำเข้าสู่วิชา

หน่วยที่ 1 แนวคิดเกี่ยวกับชีวิต

ความหมายของ “ชีวิต”

องค์ประกอบของ “ชีวิต”  

นงลักษณ์และคณะ

ดลวิวัฒน์และคณะ

2

3 พฤศจิกายน 49

เป้าหมายและคุณค่าของชีวิต

จุดกำเนิดของมนุษย์ตามมุมมองทางวิทยาศาสตร์ ศาสนา และ ความเชื่ออื่น ๆ

วัตถุประสงค์ของการเกิดมาเป็นมนุษย์ตามมุมมองทางวิทยาศาสตร์ ศาสนา และความเชื่ออื่น ๆ

เหตุผล (เป้าหมาย) ของการดำรงชีวิตอยู่ของมนุษย์ตามมุมมองทางวิทยาศาสตร์ ศาสนา และความเชื่ออื่น ๆ

 1.3.4จุดสิ้นสุดของชีวิตมนุษย์ตามมุมมองทางวิทยาศาสตร์ ศาสนา และความเชื่ออื่น ๆ

นงลักษณ์และคณะ

ดลวิวัฒน์และคณะ

หน่วยที่ 2

สัปดาห์ที่

ว/ด/ป

เนื้อหา/กิจกรรม

ผู้สอน

Sec 01

Sec 02

3

 

 

 

 

 

10 พฤศจิกายน 49

หน่วยที่ 2 ปรัชญาและแนวคิดของการดำเนินชีวิต  

2.1แนวคิดของชีวิตในทัศนะของปรัชญาการดำเนินชีวิตที่หลากหลาย

-  ประโยชน์นิยม

-  สุขนิยม

-  ศานตินิยม

-  ศิลปนิยม

- มนุษยนิยม

2.  ผลจากการดำเนินชีวิตตามแนวคิดที่หลากหลาย

-  ประโยชน์นิยม

-  สุขนิยม

-  ศานตินิยม

-  ศิลปนิยม

- มนุษยนิยม

ดลวิวัฒน์และคณะ

นงลักษณ์และคณะ

หน่วยที่ 3

สัปดาห์ที่

ว/ด/ป

เนื้อหา/กิจกรรม

ผู้สอน

Sec 01

Sec 02

4

17 พฤศจิกายน 49

หน่วยที่ 3 หลักยึดเหนี่ยวของชีวิตในยุคโลกาภิวัตน์

ศาสนากับชีวิตมนุษย์

ความหมายและประเภทของศาสนา

บทบาทของศาสนากับชีวิตมนุษย์

มนุษย์กับประสบการณ์ทางศาสนา

เทพพรและคณะ

คำแหงและคณะ

5

24 พฤศจิกายน 49

คุณค่าของชีวิตในมุมมองของศาสนา

คุณค่าของชีวิตในมุมมองของพุทธศาสนา(เถรวาท)

คุณค่าของชีวิตในมุมมองของศาสนาคริสต์

คุณค่าของชีวิตในมุมมองของศาสนาอิสลาม

เทพพรและคณะ

คำแหงและคณะ

6

1 ธันวาคม 49

คุณค่าของชีวิตในยุคโลกาภิวัตน์  :  กระแสของนิวเอจ  (New  Age)

อุดมคติในชีวิต

เทพพรและคณะ

คำแหงและคณะ

 สัปดาห์ที่ 7-8 งดเรียนเนื่องจากมีการสอบกลางภาคตามปฏิทิน มข. 30

 หน่วยที่ 4

สัปดาห์ที่

ว/ด/ป

เนื้อหา/กิจกรรม

ผู้สอน

Sec 01

Sec 02

9

22 ธันวาคม 49

หน่วยที่ 4 ศาสตร์แห่งความเข้าใจตนเองและผู้อื่น

แนวคิดการรู้จักเท่าทันตนเองในแนวคิดของพุทธศาสนา

- สติสัมปชัญญะ (mindfulness)

 

จารุวรรณและคณะ

พรหมินทร์และคณะ

10

 

29 ธันวาคม 49

4.2 แนวคิดของการเรียนรู้เท่าทันตนเองในแนวคิดของศาสนา คริสต์

- ความรัก (love)

 

จารุวรรณและคณะ

พรหมินทร์และคณะ

11

5 มกราคม 50

4.3 แนวคิดของการเรียนรู้เท่าทันตนเองในแนวคิดของศาสนาอิสลาม

- สันติสุข (peace)

 

จารุวรรณและคณะ

พรหมินทร์และคณะ

หน่วยที่ 5               

สัปดาห์ที่

ว/ด/ป

เนื้อหา/กิจกรรม

ผู้สอน

Sec 01

Sec 02

12

12 มกราคม 50

หน่วยที่ 5 คุณธรรมและจริยธรรมในตนเองและการอยู่ร่วมกันในสังคม

ความหมายของคุณธรรม จริยธรรมในตนเอง

คุณธรรมจริยธรรมในตนเองเพื่อการอยู่ร่วมกับผู้อื่น / สังคม / สิ่งแวดล้อม

การวิเคราะห์และการประยุกต์ใช้คุณธรรมจริยธรรมในตนเอง และการอยู่ร่วมในสังคม

 

วิไลลักษณ์และคณะ

ประภาพรและคณะ

13

19 มกราคม 50

หน่วยที่ 5 คุณธรรม และจริยธรรมในตนเอง และการอยู่ร่วมกันในสังคมในการดำเนินชีวิต(ต่อ)

วิไลลักษณ์และคณะ

ประภาพรและคณะ

14

26 มกราคม 50

หน่วยที่ 5 คุณธรรม และจริยธรรมในตนเอง และการอยู่ร่วมกันในสังคมในการดำเนินชีวิต(ต่อ)

วิไลลักษณ์และคณะ

ประภาพรและคณะ

หน่วยที่ 6

สัปดาห์ที่

ว/ด/ป

เนื้อหา/กิจกรรม

ผู้สอน

Sec 01

Sec 02

15

 

 

 

 

 

2  กุมภาพันธ์ 50

หน่วยที่  6  การเผชิญและการแก้ไขปัญหาชีวิต  แนวคิดและทักษะ (4)

การแก้ปัญหาบนพื้นฐานของอารมณ์  (problem solving based on emotion)

การแก้ปัญหาบนพื้นฐานของเหตุผล  (problem solving based on ration)

การแก้ปัญหาบนพื้นฐานของปัญญาหรืออริยสัจ  4

ประภาพรและคณะ

วิไลลักษณ์และคณะ

16

9  กุมภาพันธ์ 50

หน่วยที่  6  การเผชิญและการแก้ไขปัญหาชีวิต  แนวคิดและทักษะ (ต่อ)

ประภาพรและคณะ

วิไลลักษณ์และคณะ

สัปดาห์ที่ 17-18  งดเรียนเนื่องจากมีการสอบปลายภาคตามปฏิทิน มข.30

หน่วยที่ 7

สัปดาห์ที่

ว/ด/ป

เนื้อหา/กิจกรรม

ผู้สอน

Sec 01

Sec 02

19

 

 

2-4 มีนาคม 50

 หน่วยที่ 7 การฝึกปฏิบัติเพื่อทำความเข้าใจชีวิตและการพัฒนาคุณธรรม

คำแหง  และคณาจารย์ทั้งรายวิชา