งานวิจัยกำลังดำเนินการวิจัย (โครงการปี 2544)

1. ชื่อโครงการวิจัย :
                    การศึกษาเปรียบเทียบประสิทธิภาพการตรวจคัดกรองสารต้านจุลชีพตกค้างในเนื้อสัตว์
                    และผลิตภัณฑ์ด้วย วิธี ทริปเปิลมีเดี่ยมเทสด้วยไตรเมทโทร พริม วิธี โมดิฟายด์ โฟรเพท
                  เทสและวิธีทิวดิฟฟิวชั่น (The efficacy comparison study of antibiotic residues
                    screening test in meat and meat products by Triple Medium Test with
                    Trimethoprim (TMT) Method , Modified Four-Plate Test (M-FPT) and Tube

Diffusion Method.)

2. คณะผู้ร่วมวิจัย
            2.1 หัวหน้าโครงการวิจัย

นายนริศร นางาม : Mr.Narisorn Na-ngam

ตำแหน่ง : ผู้ช่วยศาสตราจารย์ระดับ 7

สถานที่ทำงาน :ภาควิชาสัตวแพทย์สาธารณสุข

      คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น อ.เมือง จ.ขอนแก่น 40002

                   โทรศัพท์ :โทร. 043-364493. โทรสาร : 043-241570

                    E-mail : narnan @ kku.ac.th.

                   สัดส่วนการทำงาน : 40 %

        2.2 ผู้ร่วมวิจัย

                   นายพิทักษ์ น้อยเมล์ : Mr.Pitak Noimay

                   ตำแหน่ง: นักวิทยาศาสตร์ 5

                   สถานที่ทำงาน : ภาควิชาสัตวแพทย์สาธารณสุข คณะสัตวแพทยศาสตร์

                                          มหาวิทยาลัยขอนแก่น อ.เมือง จ.ขอนแก่น 40002

                  โทรศัพท์ : โทร. 043-364493. โทรสาร : 043-241570

                  สัดส่วนการทำงาน : 20 %

     2.3 ผู้ร่วมวิจัย

                  นายสรรเพชญ อังกิติตระกูล : Mr. Sunpetch Angkititakul

                   ตำแหน่ง: อาจารย์ระดับ 6

                   สถานที่ทำงาน : ภาควิชาสัตวแพทย์สาธารณสุข คณะสัตวแพทยศาสตร์

                                          มหาวิทยาลัยขอนแก่น อ.เมือง จ.ขอนแก่น 40002

                   โทรศัพท์ : โทร. 043-364493. โทรสาร : 043-241570

                    สัดส่วนการทำงาน : 20 %

     2.4 ชื่อผู้ร่วมวิจัย

      นายวสันต์ จันทรสนิท : Mr. Wasan Chantarasanith

              ตำแหน่ง: นักวิทยาศาสตร์ 6

                    สถานที่ทำงาน : ภาควิชาสัตวแพทย์สาธารณสุข คณะสัตวแพทยศาสตร์

                                           มหาวิทยาลัยขอนแก่น อ.เมือง จ.ขอนแก่น 40002

                 โทรศัพท์ : โทร. 043-364493. โทรสาร : 043-241570

                  สัดส่วนการทำงาน : 10 %

   2.5 ชื่อผู้ร่วมวิจัย

     นายพุฒิพงศ์ พงศ์พันธ์: Mr. Puttipong Pongpunch

                  ตำแหน่ง: พนักงานนักวิทยาศาสตร์ 4

                  สถานที่ทำงาน : ภาควิชากายวิภาคศาสตร์ คณะสัตวแพทยศาสตร์

                                 มหาวิทยาลัยขอนแก่น อ.เมือง จ.ขอนแก่น 40002

                  โทรศัพท์ : โทร. 043-364496. โทรสาร : 043-241570

                   สัดส่วนการทำงาน : 10 %

  คำสำคัญ (key words): antibiotic residues screening test in meat; การตรวจคัดกรองสาร

                                          ต้านจุลชีพตกค้างในเนื้อสัตว์; ยาปฏิชีวนะตกค้าง

  คำสำคัญและเหตุผลในการทำวิจัย

                  การใช้สารปฏิชีวนะในธุรกิจการเลี้ยงสัตว์ภายในประเทศมีการใช้อย่างกว้างขวางโดยมีจุด
ประสงค์เพื่อรักษาโรคสัตว์ ป้องกันควบคุมการติดเชื้อ และเพื่อเร่งการเจริญเติบโต ซึ่งในระหว่าง
การเลี้ยงสัตว์จนได้เนื้อสู่ท้องตลาด สัตว์มีโอกาสได้รับยาปฏิชีวนะต่าง ๆ เข้าสู่ร่างกายได้หลาย
ทาง และมีผลต่อเนื่อง ทำให้มีการตกค้างของสารเหล่านี้ ในเนื้อสัตว์ และผลิตภัณฑ์จากสัตว์ได้ ถ้า
หากไม่ได้คำนึงถึงชนิดของยาปฏิชีวนะ ปริมาณของยาที่ใช้ และระยะเวลาที่เหมาะสมในบางครั้งมี
การใช้ยาปฏิชีวนะเกินความจำเป็น และไม่ได้คิดถึงผลกระทบต่อผู้บริโภคเนื้อสัตว์และผลิตภัณฑ์
จากสัตว์ แม้แต่ผู้บริโภคจำนวนมาก็ไม่ได้คิดถึงปัญหา และอันตรายจากยาปฏิชีวนะตกค้างใน
อาหารที่ได้จากสัตว์เหล่านี้ สารต้านจุลชีพหรือสารปฏิชีวนะถ้าหากใช้อย่างไม่ระมัดระวัง และไม่
ถูกต้องตามที่กำหนดไว้ จะมีผลต่อเนื่อง ทำให้เกิดการตกค้างของสารเหล่านี้ในเนื้อสัตว์ และผล
ผลิตจากสัตว์รวมทั้งจะมีผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของผู้บริโภค เช่น เกิดอาการแพ้ยา หรือเจ็บ
ป่วย นอกจากนี้ยังมีผลทำให้แบคทีเรียเกิดการดื้อยา ซึ่งจะก่อให้เกิดปัญหาต่อมนุษย์และสัตว์
เพราะทำให้การรักษาโรคยากยิ่งขึ้น และมีแนวโน้มทำให้เกิดมะเร็งได้ (กาญจนี, 2539) อีก
ประการต่อมาคือ ผลกระทบต่อเศรษฐกิจของประเทศเนื่องจากไม่สามารถส่งเนื้อสัตว์และผลิต

ภัณฑ์ไปจำหน่ายยังต่างประเทศได้

                 ในปัจจุบันประเทศไทยได้พัฒนาก้าวหน้าไปอย่างมากเพื่อให้ทัดเทียมกับอารยประเทศ
ต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชนเริ่มสนใจเรื่องยาปฏิชีวนะตกค้างในอาหารที่แปรรูปมาจากสัตว์ เพื่อ
ตอบสนองมาตรการควบคุมคุณภาพจากตลาดต่างประเทศ และคุ้มครองสุขภาพอนามัยของผู้
บริโภคภายในประเทศ วิธีการที่จะคุ้มครองสุขภาพอนามัยของผู้บริโภคเนื้อสัตว์และผลิตภัณฑ์จาก
สัตว์ จะต้องพัฒนาศึกษาวิธีการตรวจวิเคราะห์ที่รวดเร็ว และประหยัดเหมาะสมกับการตรวจตัว
อย่างจำนวนมาก เพื่อใช้ตรวจวิเคราะห์และติดตามสภาวะสารต้านจุลชีพตกค้าง เพื่อหามาตรการ
ควบคุมป้องกันปัญหาที่เกิดจากการใช้สารต้านจุลชีพในการเลี้ยงสัตว์ โดยเฉพาะการเลี้ยงไก่และ

สุกร เพื่อให้ได้เนื้อที่ปลอดภัยต่อผู้บริโภค ซึ่งการตรวจสารต้านจุลชีพตกค้างในเนื้อสัตว์ที่ใช้ใน

ปัจจุปันได้แก่ วิธี ทริปเปิลมีเดี่ยมเทส ด้วยไตรเมทโทรพริมเนื่องจาก ราคาถูก สามารถตรวจกับตัว
อย่างได้จำนวนมากแต่มีข้อเสียคือ อ่านผลค่อนข้างยากเมื่อมีการปนเปื้อนเชื้อราและให้ผลบวกเทียม
จากปฏิกริยาของเชื้อแบคทีเรียที่ปนเปื้อนในตัวอย่างหรือสารต้านจุลชีพโดยธรรมชาติในเนื้อสัตว์
ส่วนวิธีโมดิฟายด์ โฟรเพท เทส ดัดแปลงโดย The Central National D’ Etrudes Veterinaires et
Alimentaires, France (CNEVA) ซึ่งให้ผลการตรวจได้ดีกว่าวิธีแรกแต่การเตรียมสารเคมีจะค่อนข้าง
ยุ่งยากกว่า และวิธี ทิวดิฟฟิวชั่น เทคนิค จะสะดวกในการใช้ และสามารถผลิตได้เองภายในประเทศ
แต่มีราคาแพงกว่า 2 วิธีแรก ส่วนความแม่นยำและความน่าเชื่อถือยังอยู่ในระหว่างการศึกษา
สำหรับการตรวจด้วยเครื่อง HPLC ขั้นตอนการตรวจจะยุ่งยากต้องใช้บุคลากรที่มีความรู้ความ
ชำนาญโดยเฉพาะ เหมาะกับตัวอย่างจำนวนไม่มาก วิธีนี้ราคาแพง แต่มีความแม่นยำสูงมักใช้ตรวจ
ยืนยันหา ชนิดและปริมาณการตกค้าง การศึกษาวิจัยครั้งนี้มุ่งศึกษาเปรียบเทียบ ความว่องไว
ความสะดวกในการใช้ และค่าใช้จ่ายของวิธีการตรวจคัดกรองสารต้านจุลชีพในเนื้อสัตว์และผลิต
ภัณฑ์จากสัตว์ทั้ง 3 วิธี ซึ่งเป็นวิธีการตรวจวิเคราะห์เบื้องต้น (screening test) เพื่อศึกษาหาวิธีที่

เหมาะสมในการตรวจคัดกรองสารต้านจุลชีพตกค้างในเนื้อสัตว์และผลิตภัณฑ์ ของภาควิชา

สัตวแพทย์สาธารณสุข คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น และใช้เป็นพื้นฐานในการ
ศึกษาพัฒนาวิธีการตรวจวิเคราะห์สารต้านจุลชีพตกค้างในอาหารจากเนื้อสัตว์และผลิตภัณฑ์ใน

ระยะต่อไป

วัตถุประสงค์การวิจัย

       1. เพื่อศึกษาเปรียบเทียบ ความว่องไว ความสะดวก และค่าใช้จ่ายของวิธีการตรวจคัดกรอง

           สารต้านจุลชีพในเนื้อสัตว์และผลิตภัณฑ์ด้วยวิธี TMT, M-FPT และ TDT

       2. เพื่อศึกษาสภาวะสารต้านจุลชีพที่ตกค้างในเนื้อสัตว์และผลิตภัณฑ์ในเขตเทศบาลนคร

           ขอนแก่น

      3. เพื่อเก็บรวบรวมตัวอย่างที่สงสัยมีสารต้านจุลชีพตกค้างไปศึกษาวิจัยเกี่ยวกับปริมาณ

      และของสารต้านจุลชีพตกค้างด้วยเครื่อง HPLC

      4. เพื่อหาวิธีการตรวจคัดกรองที่เหมาะสมในการตรวจให้บริการ การเรียนการสอนและวิจัย

  ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

    1. ทราบ ความว่องไว ความสะดวกในการใช้ ค่าใช้จ่ายในการตรวจ และความเหมาะสม

          ของแต่ละวิธี

     2. ทราบข้อมูลสภาวะการตกค้างของสารต้านจุลชีพในเนื้อสัตว์และผลิตภัณฑ์ในเขตเทศ

         บาลนครขอนแก่น

     3. สามารถให้บริการตรวจสอบกับตัวอย่างจำนวนมากในเวลาอันรวดเร็วและประหยัดเพื่อคัด

        เลือกตัวอย่างที่สงสัยมีสารต้านจุลชีพตกค้างไปตรวจด้วยวิธีอื่นได้

     4. พัฒนานักวิจัย อาจารย์ และเจ้าหน้าที่ให้เพิ่มพูนความรู้ ประสบการณ์ในการตรวจ

         วิเคราะห์สารต้านจุลชีพตกค้างในอาหารจากเนื้อสัตว์ และผลิตภัณฑ์

      5.สามารถใช้เป็นวิธีตรวจสอบและควบคุมป้องกันสารปฏิชีวนะตกค้างในเนื้อสัตว์และผลิต
         ภัณฑ์ เพื่อคุ้มครองผู้บริโภค และการส่งออกจำหน่ายยังต่างประเทศได้
2 .ชื่อโครงการ: ประสิทธิภาพของปูนขาว ต่อการยับยั้งเชื้อ B. pseudomallei ในดินนา
                     The Efficacy of Lime (CaO) as Inhibitors to B. pseudomallei in Soil from Rice field
   คณะผู้วิจัย
  1. หัวหน้าโครงการ:
                      นาย นริศร นางาม; Mr. Narisorn Na-ngam
           ตำแหน่ง : ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ระดับ 7
           สถานที่ทำงาน : ภาควิชาสัตวแพทย์สาธารณสุข คณะสัตวแพทยศาสตร์
                                  มหาวิทยาลัยขอนแก่น อ.เมือง จ.ขอนแก่น 40002
          โทร. 043-364493. โทรสาร. 043-241570. โทร (บ้าน). 043-235165.
           E-mail address: narnan@kku.ac.th
    2. ผู้ร่วมวิจัย:
                   นาย สรรเพชญ อังกิติตระกูล; Mr. Sunpeth Angkittitakul
         ตำแหน่ง : อาจารย์ ระดับ 6
       สถานที่ทำงาน : ภาควิชาสัตวแพทย์สาธารณสุข คณะสัตวแพทยศาสตร์
                               มหาวิทยาลัยขอนแก่น อ.เมือง จ.ขอนแก่น 40002
        โทร. 043-364493. โทรสาร. 043-241570. โทร (บ้าน). 043-238519, 01-9549369
         E-mail address: sunpetch@kku.ac.th
   3. ผู้ร่วมวิจัย:
                 นาย พิทักษ์ น้อยเมล์; Mr. Pitak Noimay
       ตำแหน่ง : นักวิทยาศาสตร์ ระดับ 5
       สถานที่ทำงาน : ภาควิชาสัตวแพทย์สาธารณสุข คณะสัตวแพทยศาสตร์
                            มหาวิทยาลัยขอนแก่น อ.เมือง จ.ขอนแก่น 40002
        โทร. 043-364493. โทรสาร. 043-241570
        E-mail address: pitnoi@kku.ac.th

     4. ชื่อผู้ร่วมวิจัย

       นายวสันต์ จันทรสนิท : Mr. Wasan Chantarasanith

          ตำแหน่ง: นักวิทยาศาสตร์ 6

          สถานที่ทำงาน : ภาควิชาสัตวแพทย์สาธารณสุข คณะสัตวแพทยศาสตร์

                                มหาวิทยาลัยขอนแก่น อ.เมือง จ.ขอนแก่น 40002

        โทรศัพท์ : โทร. 043-364493. โทรสาร : 043-241570

         สัดส่วนการทำงาน : 10 %

   5. ชื่อผู้ร่วมวิจัย

    นายพุฒิพงศ์ พงศ์พันธ์: Mr. Puttipong Pongpunch

       ตำแหน่ง: พนักงานนักวิทยาศาสตร์ 4

       สถานที่ทำงาน : ภาควิชากายวิภาคศาสตร์ คณะสัตวแพทยศาสตร์

                              มหาวิทยาลัยขอนแก่น อ.เมือง จ.ขอนแก่น 40002

      โทรศัพท์ : โทร. 043-364496. โทรสาร : 043-241570

       สัดส่วนการทำงาน : 10 %

กรอบของประเด็นการวิจัย
                ศึกษาประสิทธิภาพของปูนขาวในการยับยั้งการเจริญของเชื้อ B. pseudomallei Ara-/Ara+
biotype ในดินนาเพื่อจะนำมาประยุกต์ใช้สำหรับการควบคุมและกำจัดเชื้อในดิน

ระยะต่อไป

วัตถุประสงค์การวิจัย

       1. เพื่อศึกษาเปรียบเทียบ ความว่องไว ความสะดวก และค่าใช้จ่ายของวิธีการตรวจคัดกรอง

           สารต้านจุลชีพในเนื้อสัตว์และผลิตภัณฑ์ด้วยวิธี TMT, M-FPT และ TDT

       2. เพื่อศึกษาสภาวะสารต้านจุลชีพที่ตกค้างในเนื้อสัตว์และผลิตภัณฑ์ในเขตเทศบาลนคร

           ขอนแก่น

      3. เพื่อเก็บรวบรวมตัวอย่างที่สงสัยมีสารต้านจุลชีพตกค้างไปศึกษาวิจัยเกี่ยวกับปริมาณ

      และของสารต้านจุลชีพตกค้างด้วยเครื่อง HPLC

      4. เพื่อหาวิธีการตรวจคัดกรองที่เหมาะสมในการตรวจให้บริการ การเรียนการสอนและวิจัย

  ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

    1. ทราบ ความว่องไว ความสะดวกในการใช้ ค่าใช้จ่ายในการตรวจ และความเหมาะสม

          ของแต่ละวิธี

     2. ทราบข้อมูลสภาวะการตกค้างของสารต้านจุลชีพในเนื้อสัตว์และผลิตภัณฑ์ในเขตเทศ

         บาลนครขอนแก่น

     3. สามารถให้บริการตรวจสอบกับตัวอย่างจำนวนมากในเวลาอันรวดเร็วและประหยัดเพื่อคัด

        เลือกตัวอย่างที่สงสัยมีสารต้านจุลชีพตกค้างไปตรวจด้วยวิธีอื่นได้

     4. พัฒนานักวิจัย อาจารย์ และเจ้าหน้าที่ให้เพิ่มพูนความรู้ ประสบการณ์ในการตรวจ

         วิเคราะห์สารต้านจุลชีพตกค้างในอาหารจากเนื้อสัตว์ และผลิตภัณฑ์

      5.สามารถใช้เป็นวิธีตรวจสอบและควบคุมป้องกันสารปฏิชีวนะตกค้างในเนื้อสัตว์และผลิต
         ภัณฑ์ เพื่อคุ้มครองผู้บริโภค และการส่งออกจำหน่ายยังต่างประเทศได้
2 .ชื่อโครงการ: ประสิทธิภาพของปูนขาว ต่อการยับยั้งเชื้อ B. pseudomallei ในดินนา
                     The Efficacy of Lime (CaO) as Inhibitors to B. pseudomallei in Soil from Rice field
   คณะผู้วิจัย
  1. หัวหน้าโครงการ:
                      นาย นริศร นางาม; Mr. Narisorn Na-ngam
           ตำแหน่ง : ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ระดับ 7
           สถานที่ทำงาน : ภาควิชาสัตวแพทย์สาธารณสุข คณะสัตวแพทยศาสตร์
                                  มหาวิทยาลัยขอนแก่น อ.เมือง จ.ขอนแก่น 40002
          โทร. 043-364493. โทรสาร. 043-241570. โทร (บ้าน). 043-235165.
           E-mail address: narnan@kku.ac.th
    2. ผู้ร่วมวิจัย:
                   นาย สรรเพชญ อังกิติตระกูล; Mr. Sunpeth Angkittitakul
         ตำแหน่ง : อาจารย์ ระดับ 6
       สถานที่ทำงาน : ภาควิชาสัตวแพทย์สาธารณสุข คณะสัตวแพทยศาสตร์
                               มหาวิทยาลัยขอนแก่น อ.เมือง จ.ขอนแก่น 40002
        โทร. 043-364493. โทรสาร. 043-241570. โทร (บ้าน). 043-238519, 01-9549369
         E-mail address: sunpetch@kku.ac.th

     4. ชื่อผู้ร่วมวิจัย

       นายวสันต์ จันทรสนิท : Mr. Wasan Chantarasanith

          ตำแหน่ง: นักวิทยาศาสตร์ 6

          สถานที่ทำงาน : ภาควิชาสัตวแพทย์สาธารณสุข คณะสัตวแพทยศาสตร์

                                มหาวิทยาลัยขอนแก่น อ.เมือง จ.ขอนแก่น 40002

        โทรศัพท์ : โทร. 043-364493. โทรสาร : 043-241570

         สัดส่วนการทำงาน : 10 %

   5. ชื่อผู้ร่วมวิจัย

    นายพุฒิพงศ์ พงศ์พันธ์: Mr. Puttipong Pongpunch

       ตำแหน่ง: พนักงานนักวิทยาศาสตร์ 4

       สถานที่ทำงาน : ภาควิชากายวิภาคศาสตร์ คณะสัตวแพทยศาสตร์

                              มหาวิทยาลัยขอนแก่น อ.เมือง จ.ขอนแก่น 40002

      โทรศัพท์ : โทร. 043-364496. โทรสาร : 043-241570

       สัดส่วนการทำงาน : 10 %

กรอบของประเด็นการวิจัย
                ศึกษาประสิทธิภาพของปูนขาวในการยับยั้งการเจริญของเชื้อ B. pseudomallei Ara-/Ara+
biotype ในดินนาเพื่อจะนำมาประยุกต์ใช้สำหรับการควบคุมและกำจัดเชื้อในดิน
วัตถุประสงค์ที่จำเพาะของโครงการ
  1. ศึกษาระดับความเข้มข้นของปูนขาวที่มีฤทธิ์ยับยั้งเชื้อ B. pseudomallei Ara-/Ara+ ในดินนา
  2 . ศึกษา pH ที่มีผลยับยั้งเชื้อ B. pseudomallei Ara-/Ara+ ในดิน
  3. ศึกษาความชื้นที่เหมาะสมของดินต่อการออกฤทธิ์ของปูนขาว ในดิน
  4. ระยะเวลาที่ปูนขาวสามารถทำลายเชื้อ B. pseudomallei Ara-/Ara+ ในดิน
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1. ทราบประโยชน์การใช้ปูนขาวในระดับความเข้มข้นต่าง ๆ ที่มีฤทธิ์ยับยั้งเชื้อ
. pseudomallei Ara-/Ara+ ในดินนา
2. ทราบ pH ที่เหมาะสมในการทำลายเชื้อ B. pseudomallei Ara-/Ara+ ในดิน
3. ทราบความชื้นที่เหมาะสมของดินต่อการออกฤทธิ์ของปูนขาว ในดิน
4. ทราบระยะเวลาที่ปูนขาวสามารถทำลายเชื้อ B. pseudomallei Ara-/Ara+ ในดิน
5. นำไปประยุกต์ใช้ในการกำจัดเชื้อในดินของพื้นที่ที่มีการเกิดโรคเมลิออยโดสีสได้
เหตุผลและความจำเป็นที่ต้องมีการศึกษาวิจัย

โรคเมลิออยโดสีสเกิดจากเชื้อแบคทีเรียกรัมลบชื่อ Burkholderia pseudomallei ซึ่งเป็น

Saprophytic bacteria พบอยู่ทั่วไปในสิ่งแวดล้อม เช่น ดินและน้ำของถิ่นระบาดของโรคมีทั้ง
Arbinose positive (Ara+) และ Arabinose negative (Ara-) แต่เชื้อที่แยกได้จากคนป่วยด้วยโรคเมลิ
ออยโดสีส มักเป็นชนิด Ara- เชื้อมีชีวิตอยู่ในน้ำที่อุณหภูมิห้องได้นาน 8 สัปดาห์ ในโคลนตมที่มีน้ำ
ท่วมขังได้นาน 7 เดือน (Blood et al., 1983) ที่อุณหภูมิตู้เย็น (4oC) มีชีวิตอยู่นานหลายเดือน และ
เจริญที่ pH 4.5-8 ที่อุณหภูมิ 15-42oC ในดินที่มีปริมาณน้ำ ร้อยละ10 ทำให้เชื้อมีชีวิตอยู่ได้ถึง 70 วัน
(Tong et al., 1996) โรคนี้กระจายอยู่ทั่วไปทั้งในคนและสัตว์ในเขตร้อน โดยเฉพาะในภูมิภาคเอเชีย
ตะวันนออกเฉียงใต้ เช่น พม่า ไทย มาเลเซีย สิงคโปร์ เวียตนาม ลาว และกัมพูชา เป็นต้น เมลิออย
โดสีสเป็นปัญหาทางสาธารณสุขของประเทศไทยโรคหนึ่งซึ่งมีผู้ป่วยในแต่ละปี ประมาณ 2,000-
3,000 คน พบอุบัติการโรคสูงในภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีอัตราส่วนผู้ป่วย 137.9/100,000 คน โรง
พยาบาลศูนย์สรรพสิทธิประสงค์ จังหวัดอุบลราชธานี พบผู้ป่วยปีละ 150-170 คน พบโรคมากใน
ช่วงฤดูฝน ระหว่างเดือน พ.ค.-มิ.ย. ถึงร้อยละ 75 ผู้ป่วยส่วนใหญ่เป็นชาวนา-ชาวไร่ ที่ต้องสัมผัส
กับดินและน้ำเป็นประจำ เชื่อว่าเชื้อเข้าสู่ร่างกายทางผิวหนังที่เป็นแผลหรือรอยทลอก การกินเชื้อที่
ปนเปื้อนอาหารและน้ำ การหายใจ และทางเพศสัมพันธ์ (Lularasamee, 2000; Vuddhakul et al.,
1999; Wuthiekanun et al., 1995) ผู้ป่วยมีทั้งสุขภาพแข็งแรง และป่วยมีโรคเดิม (ร้อยละ 53) เช่น

เบาหวาน ไตวาย ธาลัสซีเมีย มะเร็งเม็ดเลือดขาว ตับแข็ง เป็นต้น

จากการศึกษาระบาดวิทยาของเชื้อ B. pseudomallei ในดินของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
พบสูงกว่าภาคอื่น ๆ ของประเทศ รวมทั้งความหนาแน่นของเชื้อในดิน ซึ่งสอดคล้องกับจำนวนผู้
ติดเชื้อนี้ที่พบมากในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ แต่อย่างไรก็ตาม ผลการศึกษาดังกล่าวไม่อาจบ่งชี้
การปรากฎของเชื้อ B. pseudomallei Ara- ที่เป็นสาเหตุการเกิดโรคเมลิออยโดสีส (Leelarasamee,
2000; Vuddhakul. et al., 1999; Smith et al., 1995) เชื้อ B. pseudomallei Ara- ซึ่งเป็นสายพันธุ์ที่ก่อ
โรคสามารถแยกได้จากดินในภาคตะวันออกเฉียงเหนือถึงร้อยละ 75 (Wathiekanun, 1995) ปูนขาว
(Lime or Calcia) มีปริมาณมากในประเทศโดยเฉพาะในจังหวัดสระบุรี เกษตรกรสามารถหาซื้อได้
ง่าย และมีราคาถูก เมื่อถูกความชื้นหรือน้ำจะให้แคลเซียมไฮดรอกไซด์ (Ca(OH)2) และมีสภาพเป็น
ด่างซึ่งมีฤทธิ์ในการฆ่าเชื้อ ในประเทศไทยมีการใช้ปูนขาวเพื่อฆ่าเชื้อในฟาร์มปศุสัตว์มานาน นอก
จากนี้ยังพบว่าเกษตรกรชาวสวนมักใช้ปูนขาวในแปลงดินเตรียมเพาะปลูกเพื่อปรับสภาพของดิน
และทำลายตัวอ่อนของศัตรูพืชบางชนิดในดิน มีรายงานการใช้ปูนขาวปรับสภาพความเป็นกรดของ
ดินในแปลงหญ้าเลี้ยงปศุสัตว์ในขนาด 4, 8, 12 ตัน/เฮกตาร์ (6.5 ไร่) ร่วมกับการใช้ปุ๋ย NKP พบว่า
สามารถลดการใช้ปุ๋ยเคมี เพิ่มแคลเซียมในดิน และเพิ่มผลผลิตหญ้าในระยะเวลา 10 ปี (Stevens
and Laughlin, 1996) แต่การศึกษาวิจัยผลของปูนขาวในการทำลายเชื้อได้มากน้อยเท่าใดยังไม่มีราย
งาน การศึกษาวิจัยครั้งนี้มุ่งจะศึกษาระดับความเข้มข้นขนาดต่าง ๆ ของปูนขาวในการยับยั้งเชื้อ B.
seudomallei ในดินนา เพื่อแสดงหาความรู้เพื่อประยุกต์ใช้สำหรับการควบคุมป้องกันโรค และ

กำจัดเชื้อโรคเมลิออยโดสีสใน