ปิเปตต์แบบปริมาตร (volumetric pipette หรือ transfer pipette)

  Pipette

volumetric  apparatuses ...  
Group 16     Veterrinary  Medicine   Khon kane  University   

ปิเปตต์แบบปริมาตร(volumetric pipette หรือ transfer pipette)

          - มีขีดบอกปริมาตรที่แน่นอนเพียงขีดเดียว ดังนั้นจึงวัดปริมาตรได้เพียงค่าเดียว เช่น volumetric pipette ที่มีความจุ 10 ml ก็จะวัดปริมาตรของของเหลวได้เฉพาะ 10 ml เท่านั้น
- มีหลายขนาดตั้งแต่ 1 ml ถึง 100 ml
- ใช้วัดปริมาตรได้ใกล้เคียงความจริง แต่ก็ยังมีความผิดพลาดขึ้นอยู่กับความจุของปิเปตต์และระดับคุณภาพ

ความจุ(ml)
ระดับชั้นคุณภาพ A(?ml)
ระดับชั้นคุณภาพ B(?ml)
2
0.006
0.0012
5
0.01
0.02
10
0.02
0.04
25
0.03
0.06
50
0.05
0.10

                  ข้อมูลจาก: Annual Book of ASTM standards, E969, Standard Specification for Glass Volumetric(Transfer) Pipets, 14, 04, 2004.
- ปิเปตต์ที่มีความจุมากมีความผิดพลาดมากกว่าปิเปตต์ที่มีความจุน้อย
- ปิเปตต์ระดับชั้นคุณภาพ B มีความผิดพลาดมากกว่าระดับชั้นคุณภาพ A ถึง 2 เท่า ดังนั้นในการทดลองที่ต้องการความแม่นยำสูง จึงควรเลือกใช้ปิเปตต์ระดับชั้นคุณภาพ A

ส่วนประกอบ

รายละเอียดที่เขียนบนปิเปตต์
  1. สัญลักษณ์ Blow-out pipet
  2. ขีดบอกปริมาตร
  3. ความจุ
  4. ปริมาตรแต่ละขีด
  5. ระดับชั้นคุณภาพ
  6. วัตถุประสงค์การใช้งาน
  7. ความคลาดเคลื่อนของปริมาตร

เกร็ดน่ารู้

    B คืออะไร
          B  คือ สัญลักษณ์ที่บอกระดับชั้นคุณภาพ โดย เครื่องแก้ววัดปริมาตร แบ่งตามชั้นคุณภาพ(class) ได้ 2 ระดับชั้นคุณภาพ คือ
    1. ชั้นคุณภาพเอ(class A)
        - ใช้สัญลักษณ์ A
        - เป็นเครื่องแก้วที่มีความแม่นยำสูง
        - มีค่าความคลาดเคลื่อนของปริมาตรที่ยอมรับได้ต่ำ
        - ใช้ในงานที่ต้องการความแม่นสูง เช่น การเตรียมสารละลายมาตรฐาน และตัวอย่างในงานวิเคราะห์หาสารปริมาณน้อย ระดับส่วนในล้านส่วน(ppm) หรือต่ำกว่า ที่ต้องการค่าความไม่แน่นอนต่ำ

    2. ชั้นคุณภาพบี(class B)
        - ใช้สัญลักษณ์ B
        - เป็นเครื่องแก้วที่มีความคลาดเคลื่อนของปริมาตรที่ยอมรับได้เป็น 2 เท่าของเครื่องแก้วชั้นคุณภาพเอ
        - ใช้ในงานที่ยอมรับค่าความไม่แน่นอนในระดับที่สูงขึ้น


    Ex = ?
          
    EX คือ สัญลักษณ์ที่บอกถึงวัตถุประสงค์การใช้งานของเครื่องแก้ว ซึ่งเครื่องแก้ววัดปริมาตร แบ่งตามวัตถุประสงค์การใช้งานได้ 2 ชนิด คือ
    1. เครื่องแก้วสำหรับบรรจุ(to contain)
        - ใช้สัญลักษณ์ TC หรือ IN หรือ C
        - เป็นเครื่องแก้วที่ใช้สำหรับการบรรจุของเหลวและสอบเทียบโดยวิธีบรรจุของเหลว
        - ความจุของเครื่องแก้วที่กำหนด หมายถึง ปริมาตรน้ำที่อุณหภูมิอ้างอิง ซึ่งบรรจุอยู่ในภาชนะนั้นถึงขีดกำหนดปริมาตร เช่น ขวดวัดปริมาตร ขนาด 100 ml

    2. เครื่องแก้วสำหรับถ่ายของเหลว(to deliver)
        - ใช้สัญลักษณ์ TD หรือ EX หรือ D
        - เป็นเครื่องแก้วที่ใช้สำหรับถ่ายของเหลวจากภาชนะหนึ่งไปยังอีกภาชนะหนึ่ง และสอบเทียบโดยวิธีถ่ายของเหลว
        - ปริมาตรของเครื่องแก้วที่กำหนด หมายถึง ปริมาตรน้ำที่อุณหภูมิอ้างอิง ถูกถ่ายออกจากภาชนะนั้นจากขีดกำหนดปริมาตร จนได้ปริมาตรที่ต้องการ หรือจนกระทั่งหมดตามวิธีการถ่ายของเหลวที่กำหนดในมาตรฐาน เช่น ปิเปตต์ บิวเรตต์

    blow-out pipette หมายถึงอะไร
               Blow-out pipette เป็นสัญลักษณ์ที่ปรากฎบนปิเปตต์ ซึ่งอาจเป็นวงสีขาวซึ่งเกิดจากการใช้กรดกัดแก้วหรือวงแถบสีต่าง ๆ 1 รอบ ใกล้ปลายก้านด้านที่เสียบกับอุปกรณ์ช่วยดูด(pipette aid) เพื่อแสดงว่าการถ่ายของเหลวจากปิเปตต์ชนิดนี้ต้องเป่าของเหลวออกจนหมด

ความจุ
วงแถบสี
volumetric pipette
graduated pipette
2
สีส้ม
สีเขียว
5
สีขาว
สีน้ำเงิน
10
สีแดง
สีส้ม
25
สีน้ำเงิน
สีขาว
50
สีแดง
สีดำ

                    ข้อมูลจาก: Annual Book of ASTM standards, E969, Standard Specification for Glass Volumetric(Transfer) Pipets, 14, 04, 1998.
Annual Book of ASTM standards, E1293, Standard Specification for Glass Measuring pipets, 14, 04, 1998.

ขั้นตอนการใช้งาน

วิธีการใช้ปิเปตต์
1.ใช้มือบีบอากาศออกจากลูกยางให้มากที่สุด เท่าที่จะทำได้
แล้วนำลูกยางไปสวมที่ปลายบนของปิเปตต์ที่ สะอาดและแห้ง
ถ้าปิเปตต์ไม่แห้ง ต้องกลั้วด้วยน้ำที่ต้องการ วัดปริมาตร
2.จุ่มปลายปิเปตต์ลงในสารละลายที่จะวัดปริมาตร
โดยที่ปลายปิเปตต์อยู่ต่ำกว่าระดับสารละลาย ตลอดเวลาที่ทำการดูด
เพราะเมื่อใดที่ระดับของสารละลายในภาชนะ ลดลงต่ำกว่าปลายปิเปตต์ ในระหว่างที่ทำการดููด สารละลายจะพุ่งเข้าสู่ลูกยาง ทันที
3.คลายมือที่บีบลูกยางออก
ให้ของเหลวถูกดูดขึ้นในปิเปตต์จนเลยขีดบอก ปริมาตรบนก้านปิเปตต์ ประมาณ 3 cm.
4.ดึงลูกยางออก ใช้นิ้วขวาปิดปลายบนปิเปตต์ให้แน่น โดยทันที จับก้านปิเปตต์ด้วยนิ้วหัวแม่มือและนิ้วกลาง(ไม่ควรใช้ ปากดูด ถ้าสารละลายนั้นเป็นสารที่มีพิษ หรือเป็นกรดแก่ ด่างแก่ ต้องใช้เครื่องดูดหรือกระเปาะยางต่อตอนบนของปิเปตต์)
5.ยกปิเปตต์ขึ้นให้พ้นจากของเหลว ใช้กระดาษทิชชูซับหยดของเหลวที่เกาะอยู่ภายนอก ของปิเปตต์ให้แห้ง
6.จับปิเปตต์ให้ตั้งฉากแล้วค่อยๆผ่อนนิ้วชี้ขวา เพื่อให้สารละลายที่เกินขีดบอกปริมาตรไหลออกไป จนกระทั่งส่วนโค้งเว้าต่ำสุดของสารละลายแตะกับ ขีดบอกปริมาตรพอดี ปิดแน่นด้วยนิ้วชี้ไม่ให้อากาศเข้าได้อีก
7.ปล่อยให้สารละลายที่อยู่ในปิเปตต์ลงในภาชนะที่เตรียมไว้ โดยยกนิ้วชี้ขึ้น ให้สารละลายไหลลงตามแรงโน้มถ่วง ของโลกจนหมด แล้วแตะปลายปิเปตต์กับข้างภาชนะเพื่อ ให้สารละลาย หยดสุดท้ายไหล ลงสู่ภาชนะ ห้ามเขย่า เป่าหรือเคาะปิเปตต์กับข้างภาชนะที่รองรับเป็นอันขาด ถึงแม้จะเห็นว่ายังมีของเหลวติดค้างอยู่ที่ปลายปิเปตต์ เล็กน้อยก็ตาม มิฉะนั้นปริมาตรของเหลวที่ถ่ายออกจากปปิเปตต์อาจ ผิดพลาดได้