การเสื่อมสภาพ และการตายของเซลล์ (Cellular degeneration and necrosis)

Introduction

การเสื่อม (degenaration)

การสะสมหินปูนในเนื้อเยื่อ (Pathologic Calcification)

  - Dystrophic Calcification

  - Metastatic Calcification

การสะสมเกลือยูเรต

การตายของเนื้อเยื่อ (Necrosis)

ชนิดของ necrosis

การเปลี่ยนแปลงของเซลล์ และเนื้อเยื่อภายหลังตาย (Postmortem changes)

  - 1. ตัวเย็นลง (Algor mortis)

  - 2. สภาพกล้ามเนื้อเกร็งหลังสัตว์ตาย (Rigor mortis)

  - 3. การเกิดสีสรรหลังตาย (Post mortem staining หรือ Discoloration)

  - 4. ซากเปื่อยยุ่ยหลังตาย  

  - 5. การมีก๊าซสะสมอยู่ในกระเพาะและลำไส้ และการอยู่ผิดที่ของอวัยวะ

  - 6. การเปื้อนสีน้ำดี (P.M.bile imbibition)

  - 7. เลือดคั่งในอวัยวะที่อยู่ส่วนต่ำ (Hypostotic congestion)

  - 8. การแข็งตัวของเลือดหลังสัตว์ตาย (Post mortem clotting of blood)

ระยะการเปลี่ยนแปลงตามลำดับภายหลังสัตว์ตาย

Introduction

               ในขบวนการดำรงชีวิตทั้งหมดของร่างกาย จะดำเนินการภายใต้การทำงานของเซลล์หรือเนื้อเยื่อต่าง ๆ ในร่างกาย เมื่อมีร่างกายได้รับอันตราย (injury) มากระทบเซลล์ซึ่งอาจจำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยาของร่างกาย หรือให้เกิดพยาธิสภาพเกิดขึ้นแก่เซลล์ เซลล์จะมีการปรับตัว (cellular adaptation) แต่ระดับความสามารถในการปรับตัวของเซลล์  มีขอบเขตจำกัด ถ้าสิ่งที่มาชักนำหรืออันตรายทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงนั้นไม่ถูกกำจัดออกไป หรือมีความรุนแรง เซลล์จะมีการเปลี่ยนแปลงสู่ภาวะที่เป็นอันตรายของเซลล์ ซึ่งสามารถแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ใหญ่คือ เมื่อเซลล์ได้รับอันตราย ซึ่งมีความรุนแรงไม่ถึงกับการตายของเซลล์ และยังสามารถกลับคืนสภาพเดิมของเซลล์ปกติได้ ถ้าสาเหตุการเกิดนั้น ถูกกำจัดออกไป (reversible change) เรียกว่า เกิดการเสื่อมสภาพ ( cellular degenerate) ส่วนพวกที่สอง คือ กลุ่มเซลล์ที่ไม่สามารถกลับคืนสู่สภาพเดิม แม้จะสามารถจะกำจัดอันตรายออกไปได้ เซลล์พวกนี้จะตาย (cell death) หรือเรียกว่า necrosis แต่ถ้าการตายเกิดจากการย่อมสลายตัวเอง (self digestion) โดยเอ็นไซม์ของเนื้อเยื่อ (intracellular catalytic enzyme) จะเรียกว่า autolysis

การเสื่อม (degenaration)

การเปลี่ยนแปลงรูปร่างลักษณะของเซลล์ เมื่อได้รับอันตราย ซึ่งมีความรุนแรงไม่ถึงกับการตายของเซลล์ และยังสามารถกลับคืนสภาพเดิมของเซลล์ปกติได้ ถ้าสาเหตุการเกิดนั้น ถูกกำจัดออกไป จะพบการเปลี่ยนแปลงให้เห็นได้

1. เซลล์บวม (Cellular swelling)

2. การเสื่อมของเซลล์ที่เกี่ยวข้องกับไขมัน (Fatty change)

3. การมีบางอย่างที่ผิดปกติในเซลล์ (Intracellular inclutions)

1. เซลล์บวม (Cellular swelling)

เป็นการเปลี่ยนแปลงที่พบบ่อยที่สุด เมื่อเซลล์ได้รับอันตราย การบวมของเซลล์จะเกิดขึ้น เมื่อเซลล์ไม่สามารถรักษาสมดุลย์ของน้ำ และสารละลายเกลือแร่ภายใน และภายนอกเซลล์ ทำให้มีน้ำเข้ามาคั่งในเซลล์เป็นการเปลี่ยนแปลงของ mild injury อาจพบการเปลี่ยนแปลงที่เรียกว่า vacuolar degeneration หรือ hydropic degeneration หรือบางครั้งเรียกว่า ballooning degeneration ซึ่งโดยเฉพาะรอยโรคในระบบผิวหนังและทางเดินอาหารนิยมใช้เรียก โดยจะพบว่ามีการขังของน้ำเป็นช่องว่าง ๆ ภายในไซโตพลาสม (clear vacuole) เซลล์จะบวมมีขนาดใหญ่ขึ้น ทำให้เนื้อเยื่อ และอวัยวะโต แล้วมีน้ำหนักเพิ่มขึ้นกว่าเดิม แต่จะมีสีซีดลง

              

2. การเสื่อมของเซลล์ที่เกี่ยวข้องกับไขมัน (Fatty change)

เป็นการเปลี่ยนแปลงที่จะพบได้ในเซลล์บางชนิด และจากอันตรายบางอย่าง รวมถึงการเกิด fatty degenerate (เป็นการสะสมไขมันภายในเซลล์ที่ผิดปกติ) และ fatty infiltrate (เป็นการสะสมไขมันผิดปกติภายในเซลล์ที่ปกติ) ซึ่งลักษณะพยาธิสภาพที่พบของทั้ง 2 ลักษณะคล้ายคลึงกันมาก แยกออกจากหันยาก จึงนิยมรวมเรียกว่า fatty change มักพบที่ตับ หัวใจ และไต

   

 ดังนั้นเมื่อเซลล์ได้รับอันตราย เกิดขึ้นจากมีความผิดปกติของ fat metabolism เช่น การเกิดอันตรายของเซลล์ตับ หรือเซลล์กล้ามเนื้อหัวใจ ทำให้เกิดมีการสะสมชองไขมันในเซลล์เป็น fatty vacuoles ใสขอบเรียบ ซึ่งจะสามารถแยกจากการสะสมของน้ำ หรือ hydropic vacuoles ในเซลล์โดยการย้อมดูด้วยสีพิเศษ เช่น Oil Red O หรือ Sudan IV ส่วนของไขมันจะติดสีแดง

   

3. การมีบางอย่างที่ผิดปกติในเซลล์ (Intracellular inclutions)

เป็นความผิดปกติของเซลล์ที่มีการสะสมบางสิ่งบางอย่างภายในเซลล์ ซึ่งพบในลักษณะ

- hyaline droplets เป็นโครงสร้างที่ติดสีแดง (eosinophilia) ภายในไซโตพลาสมของเซลล์

มักพบกับเซลล์ที่ทำหน้าที่ชดเชยเพิ่มมากขึ้น ดังนี้บางครั้งเรียกว่า hyaline droplet degeneration ดังนั้นหากพบจะแสดงว่าเป็นเซลล์ที่ทำงานมากเกิน หรือเซลล์ได้รับอันตรายจากสารพิษ

- myelin bodies เป็นลักษณะที่เกิดจากโครงสร้างเยื่อหุ้มของส่วนเอ็นโตพลาสมิค เรติคูลั่มม้วนผับเป็นวง ทำให้พบลักษณะคล้ายลายนิ้วมือในไซโตพลาสม

- Inclusion เป็นโครงสร้างผิดปกติที่เพิ่มขึ้นในเซลล์ ซึ่งอาจพบ inclusion ทั้งภายหรือในนิวเคลียส หรือในไซโตพลาสม ซึ่งถือเป็นลักษณะวิการจำเพาะ(pathognomonic lesion) ของโรคไวรัส

 การสะสมหินปูนในเนื้อเยื่อ (Pathologic Calcification)

โดยทั่วไปร่างกายสะสมเกลือแคลเซียมตามปกติในกระดูก ซึ่งอยู่ในรูปแคลเซียมคาร์บอเนต เกลือแคลเซียมฟอสเฟต หรือแม้กระทั่งในรูปที่คล้ายคลึงกับกระดูกทั่วไป (Hydroxyapatite) ซึ่งเป็นความผิดปกติของเนื้อเยื่อที่เกิดการสะสมเอาหรือเกี่ยวเนื่องกับปริมาณหรือขบวนการเมตาบอลิสมของแคลเซียมในร่างกาย ดังนั้นจึงจำแนกได้เป็น Dystrophic Calcification และ Metacistatic Calaficatioin หรือแบบไม่จำเพาะ คือ Calcinosis Circumscripta

   

Dystrophic Calcification

เป็นการสะสมหินปูนในเนื้อเยื่อที่เกิดจากความเสื่อมของเซลล์หรือเนื้อเยื่อ (denaturation of protein in tissue) หรือในเนื้อเยื่อที่ตายไป (dead or degeneration tissues) โดยที่ระดับของแคลเซียมในเลือดอยู่ในระดับปกติ (10 mg/100 ml) จะพบเป็นบางแห่งในอวัยวะ

สาเหตุ

ปัจจัยสำคัญคือ ความเป็นด่างของเนื้อเยื่อ (Local alkalinity) ในเนื้อเยื่อที่เกิดการตาย หรือเกิดจากขบวนการ Saponification ซึ่งต้องดึงเอาปริมาณแคลเซียมจำนวนมากมาทำปฏิกิริยากับกรดไขมัน (Fatty acid) ต่อมาจะมี phosphate และ carbornate เข้ามาแทนที่ ในกรรีที่มีข้อสังเกตว่าระดับของเอ็นไซม์ Alkaline phosphatase เพิ่มสูงขึ้น ซึ่งกลไกการเกิดยังไม่ชัดเจนตัวอย่างเช่น การสะสมแคลเซียมในตุ่มหนองในวัณโรค ยกเว้นในกรณีสัตว์ปีก การเปลี่ยนแปลงเริ่มจาก Caseous center of tubercle หรือสะสมในบริเวณ Caseous areas ใน Granulomatous อื่นๆ หรือใน ensheathed colories ของ Actinomycosis และ Staphylococci granuloma botryomycosis, old thrombi, degeneration tumors old scarring, encaysulated parasites encysted, worm larvae, demodectic unites

ความสำคัญต่อสัตว์

เมื่อเกิดขึ้นแล้วคงอยู่ตลอดไป ไม่มีอันตรายหรือมีอันตรายน้อยมาก ทั้งนี้ขึ้นกับอวัยวะที่เกิดการสะสม รบกวนการทำหน้าที่ของอวัยวะนั้นๆ และบางครั้งเกิดร่วมไปกับพยาธิสภาพของการสร้างกระดูก(Ossification)

Metastatic Calcification

การสะสมหินปูนในเนื้อเยื่อเกิดจากระดับของแคลเซียมในกระแสเลือด อยู่ในระดับสูงเป็นเวลานาน อาจร่วมกับภาวะมีไวตามิน D สูง หรือสัตว์ที่มีภาวะ Hyperparathyroidism โดยเนื้อเยื่อไม่เกิดการทำลาย การสะสมพบใน basement membrane และ elastic fibers โดยเฉพาะในเส้นเลือดแดง ซึ่งอาจทำให้ผนังเส้นเลือดอาจเรียบหรือขรุขระก็ได้ ซึ่งหากพบสะสมในเซลล์ โดยเกิดที่ mitochondria จะเรียกว่า Calcinosis ซึ่งหมายถึง การก่อเกิดผลึกของเกลือแคลเซียม

สาเหตุ เกิดได้จากหลายสาเหตุดังนี้

1. primary hyperparathysoidism มักไม่ค่อยพบในสัตว์

2. Renal failure เป็นผลจากฟอสเฟตถูกขับออกลดลง ทำให้ระดับของฟอสเฟตในกระแสเลือดเพิ่มขึ้น (Serum inorganic phosphate increased) ทำให้เสียสมดุลแคลเซียมฟอสฟอรัสในกระแสเลือด ผลทำให้เกิดการสลายกระดูกเพื่อถึงแคลเซียมออกมาซึ่งอาจทำให้เกิด secondary hyperparathyroidism ขึ้นได้ ซึ่งในกรณีที่เกิดภาวะ ปัสสาวะเป็นพิษในเลือด (uremia) ขึ้น จะทำให้การพิจารณาสาเหตุการเกิดสะสมหินปูนแบบ Dystrophic calcification กับ Metastatic calcification ออกจากกันได้ยาก จึงต้องพิจารณาลำดับการเกิดให้ได้

3. Hypercalcemia associated excessed vitamin D ออกได้ในสัตว์ที่เสริมไวตามินดีมากเกินไป ซึ่งการสะสมหินปูนที่ผนังเส้นเลือด และในอวัยวะอื่นๆ อย่างกว้างขวาง เช่นในโค แพะ แกะ ในหนูแรท จะพบการสะสมหินปูนที่ไต (Renal calcification) ที่เกิดภาวะ hypervitaminosis D

 ในกรณีมีไวตามิน D มากเกินไป มักพบระดับของฟอสฟอรัสสูงขึ้นตามไปด้วย หากมีการสะสมที่ผนังถุงลมปอดจะสามารถพัฒนาเป็นการสร้างกระดูกได้ (Ossification) สุนัขที่มีภาวะ hyperadrenocorticism จะพบหินปูนสะสมในหลายอวัยวะ แต่ไม่พบในผิวหนัง ปอด กล้ามเนื้อลาย

ลักษณะที่เห็นด้วยตาเปล่า จะพบหย่อมสีขาว เมื่อกรีดด้วยของมีคมจะเกิด Crack sound ซึ่งเมื่อย้อมด้วย H&E จะเห็นเกลือแคลเซียมมีสีม่วง (Basophilic stain) เป็นเนื้อเดียวกัน

 การสะสมเกลือยูเรต

เป็นการสะสมผลึกของ Uric acid หรือ Urates ที่สะสมมากไป ซึ่งถ้าสะสมตามข้อต่อร่างกาย เรียกว่า Gout ซึ่งพบได้ในคน นก งู ซึ่งเกิดจากความผิดปกติในขบวนการเมตาบอลิสมของกรดอะมิโนพิวรีน โดยอาจมีเมตาบอลิสมลดลงหรือไม่สม่ำเสมอ ทำให้เกิดการสร้าง กรดยูริก มากเกินไป หรือขบวนการขับออกไม่สมบูรณ์ ลักษณะของผลึกเป็นผงละเอียดสีขาว คล้ายชอล์ก เรียกว่า trophi สะสมได้ทั้งในเนื้อเยื่อ (internal organs) และข้อต่อ (articular & periarticular tissue) ซึ่งจะทำให้เกิดปฏิกิริยาการอักเสบของเนื้อเยื่อนั้น(Local inflammatory reaction) ผลึกของกรดยูริก ซึ่งเป็นสิ่งแปลกปลอม จะทำให้เกิดการระคายเคือง ทำให้เกิดอาการเจ็บปวดจากการเกิดการอักเสบเฉียบพลันได้บ่อยๆในสัตว์ปีก พบลักษณะการเกิดได้ 2 แบบ คือ การสะสมเกลือยูเรตในบริเวณข้อต่อเรียกว่า Articular gout และการสะสมเกลือยูเรตในอวัยวะภายในร่างกาย เรียกว่า Visceral gout แม้ว่าจะมีความสามารถขับกรดยูริคได้ในปริมาณมาก Visceral gout พบได้บ่อยๆ เป็นผลจากระดับของกรดยูริคในกระแสเลือดเพิ่มสูงขึ้น จึงทำให้เกิดเกลือยูเรตสะสมในไต ตับ ข้อต่อ และหัวใจชั้นนอก ซึ่งอาจเกิดได้เมื่อสัตว์เกิดการขาดน้ำ Articular gout  เกิดการสะสมในบริเวณ Synoviae และ Tendon sheaths ของข้อต่อ โดยเฉพาะที่ข้อเท้า และข้อนิ้วซึ่งการเกิดทั้ง 2 แบบ สามารถเกิดจากภาวะไตล้มเหลว (Renal failure) ได้ เนื่องจากความสามารถในการขับกรดยูริคลดลง หากสัตว์มีภาวะขาดน้ำร่วมด้วย ประกอบกับได้รับปริมาณโปรตีนในอาหารสูง จะทำให้สัตว์มีอัตราเสี่ยงต่อโรคสูงขึ้น แต่ยังมีปัจจัยอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับอัตราการเกิด gout ได้แก่ ความแตกต่างทางพันธุกรรม (Hereditary variation)  สารเคมีที่เป็นพิษต่อไต (Nephrotoxic agents) และการขาดไวตามินเอ และได้รับแคลเซียมปริมาณสูงส่วนในสัตว์ชนิดอื่นที่สามารถพบ gout ได้แก่ mink เป็นผลจากความบกพร่องของขบวนการเมตาบอลิสมที่เกี่ยวข้องกับพันธุกรรม งู พบได้ในกรณี nephrotoxicosis: antibiotic gentamicin ทำให้มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรค gout เพิ่มขึ้น สุนัข พบได้ในพันธุ์ Dalmatian เนื่องจากมีปริมาณของ urecase ประมาณ 1 ใน 2 ของสุนัขทั่วไป ทำให้การเปลี่ยนแปลงอัลลันตอยด์เป็นกรดยูริกในตับ

การตายของเนื้อเยื่อ (Necrosis)

เป็นลักษณะการเปลี่ยนแปลงของเซลล์ที่พบเกิดหลังตายของเซลล์ จะพบการติดสีของเซลล์ และเนื้อเยื่อ ค่อนข้างไปทางสีแดง (eosinophilia) จากการติดสี eosin ของพวก denatured protein ภายในเซลล์ และการลดต่ำของ pH เซลล์อาจใสขึ้นติดสีเรียบเสมอกว่าปกติ เนื่องจากส่วนประกอบต่าง ๆ ถูกย่อยทำลายไป อาจพบมีการตกตะกอนของเกลือแคลเซียมในเนื้อเยื่อที่ตายแล้ว (calcification)

ลักษณะที่สำคัญที่จะบ่งบอกถึงการมีภาวะการตายของเซลล์และเนื้อเยื่อ ( necrosis) คือลักษณะของนิวเคลียส 3 ลักษณะ คือ

- nuclear pyknosis จะพบมีการจับกลุ่มรวมตัวโครมาตินเป็นกระจุกเนื้อเดียวกัน มีสีเข้มขึ้น ขนาดเล็กกว่านิวเคลียสปกติ

- karyorrhexis นิวเคลียสจะ แตกเป็นชิ้นเล็ก ชิ้นน้อยๆ กระจัดกระจาย มากมาย

- karyolysis โครมาตินในนิวเคลียสจะถูกย่อยทำลายไป หรือเกิดเป็นช่องว่างของนิวเคลียส ซึ่งลักษณะ karyolysis อาจเกิดขึ้นภายหลังเกิด pyknosis และ karyorhexis แล้ว หรืออาจเกิดขึ้นเองโดยไม่ผ่านทั้ง 2 ลักษณะก็ได้

   

ดังนั้นในวิการที่เกิดภาวะการตาย (necrosis) อาจจะพบการเปลี่ยนแปลงลักษณะใดลักษณะหนึ่งของนิวเคลียสตามที่กล่าวมาก็ได้ หรือพบทั้ง 3 ลักษณะร่วมกันก็ได้เช่นกัน และโดยเฉพาะในลักษณะ karyorrhexis จะเป็นลักษณะที่บ่งบอกถึงสาเหตุที่ทำให้เซลล์ตายนั้น เป็นสาเหตุที่รุนแรง และเกิดขึ้นอย่างเฉียบพลันแต่อย่างไรก็ตามการพบการเปลี่ยนแปลงของนิวเคลียส หรือ นิวเคลียสหายไปนั้น ที่จริงไม่ได้เป็นการบ่งบอกถึงการตายของเซลล์ได้เสมอไป เพราะเซลล์อาจยังมีชีวิตอยู่ต่อไป ได้อีกเช่น ช่วงเวลาหนึ่ง โดยไม่มีนิวเคลียส เซลล์เม็ดเลือดแดง ลักษณะของเนื้อเยื่อตายที่ตรวจพบ จะพบว่ามีสีเปลี่ยนไปจากปกติ โดยส่วนมากจะมีสีซีดลงกว่าปกติ แต่ถ้าหากเกิดมีเลือดคั่ง หรือ เลือดออก อาจจะพบมีสีแดงคล้าก็ได้ นอกจากยังพบว่าเนื้อเยื่อจะมีลักษณะอ่อนนิ่ม หรือเปื่อยยุ่ยกว่าปกติและเห็นขอบเขตชัดเจนแยก ระหว่างเนื้อปกติและเนื้อเยื่อที่ตายแล้ว

 ชนิดของ necrosis จากการพิจารณา การเปลี่ยนแปลงของการเน่าเปื่อยในระดับของเซลล์ โดยกล้องจุลทรรศน์ จะแบ่งออกได้เป็น

1 Coagulative necrosis จะมีลักษณะของ coagulative protein ในไซโตพลาสซึม ติดสีแดง (eosinophilia) พอเห็นขอบเขตของเซลล์ได้ การเปลี่ยนแปลงของนิวเคลียสเป็น nuclear pyknosis หรือ karyorrhexia หรือ karyolysis ส่วนใหญ่จะเกิดจากสาเหตุเซลล์ขาดเลือด (ischemia) เช่นเกิด infarction ของกล้ามเนื้อหัวใจ และไต หรือได้รับสารพิษที่รุนแรง และเฉียบพลัน (acute toxicity)

    

   

2. Liquefactive necrosis เป็นบริเวณเนื้อตายที่มีลักษณะเป็นก้อนกึ่งแข็งกึ่งเหลวแล้ว มีการแตกหรือการฉีกขาดของเซลล์เป็นเศษเซลล์ ไม่เห็นขอบเขตของเซลล์ อาจเห็น แต่ชิ้นส่วนของเซลล์ หรือตะกอนของเซลล์เป็น granular ติดสีแดง ๆ เช่น ฝีหนอง (abscess) เซลล์ของเนื้อเยื่อเดิมจะถูกทำลาย ตายและสลายไป และจะพบเซลล์เม็ดเลือดขาว ซึ่งมาเก็บกิน และปล่อยเอ็นไซม์ออกมาย่อมทำลายเซลล์ และการตายของเซลล์เม็ดเลือดขาวเอง เป็นตะกอนของเซลล์ตายทับถมในบริเวณนั้น ทำให้ไม่เห็นขอบเขตของเซลล์ของเนื้อเยื่อเดิม และเซลล์ที่ตายแล้ว (necrotic neutrophils)

ถ้าพิจารณาการเปลี่ยนแปลงการเน่าเปื่อยที่เกิดขึ้นในระดับเนื้อเยื่อจะแบ่งออกได้เป็น

2.1 Enzymatic necrosis มีการย่อยทำลายเนื้อเยื่อจากเอ็นไซม์ที่สร้างขึ้นในเนื้อเยื่อนั้น หรือ ในเนื้อเยื่อข้างเคียง เช่น pancreatic enzyme จากตับอ่อนซึ่งมี lipasem, elaatase มี injury ของ pancrease หรือ soft tissue ข้างเคียง

ทำให้การเน่าสลายของเนื้อเยื่อเป็นปื้น ติดสีจะค่อนไปทางสีฟ้า เนื่องจากบริเวณนั้นเป็น fatty tissue จะมีการตกตะกอนเกิด saponification ติดสีไปทางด่างมากขึ้น ถ้ามีการย่อมสลายหลอดเลือดในบริเวณนั้นเกิดขึ้นด้วย ก็จะทำให้เกิดมีเลือดออกมาในเนื้อเยื่อนั้นด้วย (hemorrhage)

2.2 Caseous necrosis เป็นผลจากการอักเสบติดเชื้อของพวก microorganism บางตัว เช่น วัณโรค (TB) และเชื้อรา จะมีลักษณะเป็น granular amorphus eosinophilic material ขอบเขตของการเน่าเปี่อยของเนื้อเยื่อพอเห็นได้ ลักษณะเนื้อเยื่อขาวขุ่นเหมือนเนย

   

บางครั้งลักษณะการเน่าของเนื้อเยื่อจะเป็นผลร่วมจากการตายของเนื้อเยื่อหลายชนิด หรือจากหลายสาเหตุร่วมกันในอวัยวะนั้น ทำให้มีลักษณะต่างออกไปได้ เช่น

2.2.1 Hemorrhegic necrosis เป็นการเน่าของเนื้อเยื่อที่มีหลอดเลือดถูกทำลาย หรือมีการอุดตันของหลอดเลือดร่วมด้วย ทำให้มีส่วนของเลือดออกมาในเนื้อเยื่อที่เน่านั้น เช่น อาจพบลักษณะของ coagulation ร่วมกับ hemorrhagic ของเนื้อเยื่อ

 

2.2.2 Gangronous necrosis เป็นลักษณะการตายเน่าของเนื้อเยื่อจากการพิจารณา gross ซึ่งเกิดจากผลการขาดเลือดของเนื้อเยื่อนั้น ทำให้เนื้อเยื่อนั้นตาย infarction เป็นแบบ coagulative และมีการติดเชื้อร่วมด้วย ทำให้เกิดมีการตายเนาเหม็นของเนื้อเยื่อนั้น ส่วนมากจะเกิดร่วมกับพวก anaerotic bacteria เช่นการเกิด necrosis ที่เกิดที่ลำไส้ หรือไส้ติ่ง

   

  2.2.3 Fibrinoid necrosis ที่จริงไม่ได้เป็น necrosis จากการเน่าเปื่อยของเนื้อเยื่อนั้นโดยตรง แต่เป็นการสะสมของสารบางอย่าง เช่น โกลบูลิน (globulin) และไฟบริน (fibrin) ร่วมด้วย จะเห็นเป็นตะกอนสีชมพูในเนื้อเยื่อที่ตายนั้น มักเกิดจาก injury ของระบบภูมิคุ้มกันต่อเนื้อเยื่อ เช่น fibrinoid necrosis ของกล้ามเนื้อหัวใจใน  rheumatic heart  เป็นต้น

 

การเปลี่ยนแปลงของเซลล์ และเนื้อเยื่อภายหลังตาย (Postmortem changes)

ในการวินิจฉัยโรคมีความจำเป็นต้องแยกออกจากรอยโรคที่เกิดขึ้นก่อนที่สัตว์จะตาย (antimortem lesions) เพื่อให้การวินิจฉัยโรคได้ถูกต้องแม่นยำมากยิ่งขึ้น และให้เกิดความผิดพลาดในการวินิจฉัยน้อยที่สุด

  Autolysis หมายถึง การเน่าเปื่อยของเซลล์หรือร่างกายโดย enzymes ที่มีอยู่ในเซลล์ ภายหลังจากสัตว์ตายแล้ว enzymes ที่พบในแต่ละเนื้อเยื่ออาจพบได้ต่างกัน เช่น proteolytic enzyme และ acid hydrolases จะทำลายเซลล์ตัวเองและเซลล์ข้างเคียง ทำให้เกิดลักษณะคล้ายการเกิดเนื้อตาย (necrosis) ในขณะที่สัตว์ยังคงมีชีวิตอยู่

 ข้อแตกต่างที่ใช้แยก autolysis และ necrosis เมื่อดูชิ้นเนื้อทางกล้องจุลทรรศน์ คือ

  1. Autolysis จะพบการเปลี่ยนแปลงแบบการเกิดเนื้อตายทั้ง section โดยสม่ำเสมอ หรือกระจายทั่วทั้งแผ่น
  2. Autolysis ไม่พบปฏิกิริยาการอักเสบโดยรอบเนื้อตายนั้น โดยจะมีการเปลี่ยนแปลงของนิวเคลียส และไซโตปลาสม เป็นแบบ Coagulative necrosis

 

การเปลี่ยนแปลงหลังตายจะทำให้อวัยวะหรือร่างกายเปลี่ยนแปลงไปตามระยะเวลา และอุณหภูมิ ดังนั้น เมื่อมีการผ่าพิสูจน์ซาก จะต้องเก็บรักษาสภาพหรือแช่ (fixation) ชิ้นเนื้อในน้ำยาฟอร์มาลิน 10% ทันที เพื่อรักษาสภาพของรอยโรคในอวัยวะต่างๆ เพราะฉะนั้น หากเป็นไปได้เมื่อต้องมีการชันสูตรผ่าซากควรรีบทำทันทีภายหลังสัตว์ตาย อวัยวะที่เกิดการเน่าเปื่อยเร็วจะต้องเก็บรักษาไว้ให้เร็วที่สุด ได้แก่ ตับ ตับอ่อน ไต retina seminiferous tubules intestine สมอง ส่วนอวัยวะที่มีการเน่าสลายช้าที่สุด คือ กล้ามเนื้อ

การเปลี่ยนแปลงหลังสัตว์ตายจะสังเกตได้จากสิ่งต่อไปนี้

1. ตัวเย็นลง (Algor mortis)

หลังจากสัตว์ตาย อุณหภูมิร่างกายจะลดลง (Gradual cooling of the body after death) เนื่องจากเมตาบอลิสมในร่างกายหยุดไป ซึ่งการเปลี่ยนแปลงหลังจากสัตว์ตายจะช้าหรือเร็ว จะขึ้นกับอัตราการเย็นตัวลงในสัตว์ ซึ่งมีองค์ประกอบดังนี้

  1. อุณหภูมิของสิ่งแวดล้อม ถ้าอุณหภูมิสูงจะไปเร่งขบวนการเน่าให้เกิดเร็วขึ้น การแช่แข็งซากสัตว์จะช่วยชะลอหรือยับยั้งการทำงานของ enzyme และการเจริญของแบคทีเรียได้
  2. สภาพของสัตว์ก่อนตาย ถ้าอุณหภูมิสูงก่อนตายจะเน่าเร็ว
  3. สภาพการทำงานของกล้ามเนื้อก่อนสัตว์ตาย ถ้าสัตว์ใช้กล้ามเนื้อมากก่อนตาย จะทำให้มี Lactic acid สะสมในเซลล์ทำให้เน่าเร็วขึ้น
  4. ขนาดลำตัวของสัตว์ สัตว์ขนาดใหญ่ลำตัวหนาทำให้ความร้อนสะสมนานจึงเน่าเร็ว
  5. ขนและหนัง สิ่งปกคลุม ถ้ามีขนหรือหนังหนาจะทำให้เกิดฉนวนกันความร้อนขึ้นมีผลทำให้ซากเน่าเร็วขึ้น
  6. ความอ้วน ผอม สัตว์อ้วนมีไขมันมากทำให้สะสมความร้อนไว้ได้ดี จึงเกิดการเน่าได้เร็ว
  7. การติดเชื้อ มีไข้ สัตว์ที่ตายเพราะการติดเชื้อ จะทำให้เกิดการเน่าเนื่องจากเชื้อนั้นได้เร็วกว่าการตายด้วยสาเหตุอื่นๆ

  2. สภาพกล้ามเนื้อเกร็งหลังสัตว์ตาย (Rigor mortis)

เกิดจากการหดตัวของกล้ามเนื้อ ทำให้ซากสัตว์แข็งทื่อ (Stiffening of all muscles after death) กล้ามเนื้อที่เกร็งจะเกิดกับกล้ามเนื้อที่ทำงานมากๆ ได้แก่ กล้ามเนื้อหัวใจ เปลือกตา กล้ามเนื้อที่หาง จากนั้นจะเกิดที่กล้ามเนื้อหัว ขา แขน ลำตัว ซึ่งจะเกิดขึ้นภายใน 1-6 ชั่วโมงหลังตาย อาจกินเวลาประมาณ 1-2 วัน แต่โดยเฉลี่ยจะอยู่ที่ประมาณ 20-30 ชั่วโมงหรือจนตาย เนื่องจากขบวนการ  autolysis การเกร็งของกล้ามเนื้อจะเกิดจากการสลาย ATP ในกล้ามเนื้อ สัตว์ที่ก่อนตายมีสภาพสมบูรณ์ และอยู่ที่เย็น อุณหภูมิต่ำ จะเกิดการเกร็งของกล้ามเนื้อช้า รวมถึงสัตว์ที่มีภาวะโภชนาการดี ส่วนในสัตว์ที่ผอมโซขาดอาหารจะทำให้กล้ามเนื้อเกร็งเร็วกว่า

   

3. การเกิดสีสันหลังตาย(Post mortem staining หรือ Discoloration)

หลังจากสัตว์ตาย เม็ดเลือดแดงจะแตก (hemolysis) ทำให้ฮีโมโกลบิน (Hb) มีสีแดงคล้ำติดอยู่ที่ผนังหลอดเลือดทั่วไป และการเจริญของแบคทีเรีย ทำให้เกิดการเน่าและเกิดก๊าซไข่เน่า (H2S) ขึ้น โดยเฉพาะตรงบริเวณลำไส้หรือบริเวณที่ติดกับลำไส้ H2S จะรวมตัวกับ Hb ซึ่งมีเหล็กเป็นองค์ประกอบ จึงได้สารประกอบสีดำของเหล็กซัลไฟด (Fe2S) บริเวณดังกล่าว จึงมีสีดำ หรือเขียวปนแดง (blue green and purple) สภาพสีที่เกิดขึ้นเรียก การเกิดรงควัตถุเมลานินเทียม (Pseudomelanosis) นอกจากนี้ยังอาจพบ Red or red clear edema fluid ใต้ผิวหนังซึ่งอาจพบได้ในโรค Black leg, Malignant edema เป็นผลจากการสร้าง gas และเกิด hemorrhage

 

  4. ซากเปื่อยยุ่ยหลังตาย(Post mortem softening)

เกิดจากการเน่าเปื่อยเนื่องจากขบวนการทำงานของ proteolytic enzyme ในเซลล์ และเกิดจากแบคทีเรียทำให้เกิดสภาพเปื่อยยุ่ยของอวัยวะทั้งซากสัตว์ แบคทีเรียนี้ได้แก่พวก Normal floron และ Saphrophytic bacteria ของเนื้อเยื่อนั้นๆ เช่นในตับ ไต ตับอ่อน ซึ่งจะเน่าได้เร็วในวันที่มีอากาศร้อน และตับอ่อนจะเน่า เปื่อยยุ่ย ได้เร็ว เนื่องจากการทำงานของเอ็นไซม์ภายในตับอ่อนนั่นเอง การเปื่อยยุ่ยของซากและอวัยวะต้องแยกออกจากสภาพเนื้อเยื่อของสัตว์ก่อนตาย เช่น กระเพาะอาจยุ่ยและบาง หรือทะลุเป็นรู น้ำย่อยจากตับอ่อนจะย่อยไขมันที่อยู่โดยรอบ และผนังลำไส้จะพบการลอกหลุดจากเยื่อเมือก (mucosa)

  5. การมีก๊าซสะสมอยู่ในกระเพาะและลำไส้ และการอยู่ผิดที่ของอวัยวะ

(Distention or P.M. tympany and P,M. displacement)

การมีก๊าซสะสมเนื่องจากเกิดการเน่า แล้วเกิดก๊าซไข่เน่า (H2S)  ขึ้นในกระเพาะลำไส้ โดยเฉพาะใน กระเพาะ Rumen ของ Ruminant หรือในลำไส้ตัน (cecum) หรือลำไส้ใหญ่ (colon) ของม้า ทำให้เกิดแรงกดไปที่อวัยวะภายในช่องท้อง จึงอาจทำให้กระเพาะหรือกระบังลม (diaphragm)  แตกได้ หรือ กล้ามเนื้อช่องท้องฉีก เกิดภาวะ hernia ได้ แรงดันที่เกิดขึ้นและกดอวัยวะข้างเคียง ทำให้สีอวัยวะนั้นซีด เนื่องจากเลือดเข้าไปในบริเวณกดทับได้น้อยลง ลำไส้ที่ขดไปมาและกดทับอวัยวะอื่นโดยเฉพาะตับจะทำให้มีเลือดซึมไปติดที่อวัยวะอื่นๆ และมีร่องรอยขอบเขตของการกดทับชัดเจน บางครั้งที่กล้ามเนื้อหัวใจจะพบพื้นที่ที่มีสีซีดเป็นบริเวณกว้าง เนื่องจากเกิดแรงกด และอาจพบในกล้ามเนื้อส่วนอื่นๆ เมื่อตัดดูหน้าตัดจะพบสีคล้ายการเกิดเนื้อตาย (necrosis) แต่จะไม่มีรูปแบบที่แน่นอน ในบริเวณนี้ อาจเป็นฟองอากาศภายในเนื้ออวัยวะ (Gas bubbles) ทำให้วินิจฉัยผิดพลาดได้

 

บางครั้งการมีก๊าซสะสมมากในอวัยวะทำให้เกิดการขยายตัวและเกิดการบิดหมุนของอวัยวะ เช่น ลำไส้บิดหมุน (volvulus) หรือเกิดลำไส้กลืนกันหรือไส้สวม (intussusception) หรือเกิดไส้เลื่อน (hernia) ซึ่งต้องวินิจฉัย หรือแยกออกจากลำไส้บิดหรือไส้สวมก่อนตาย (antemortem volvulus or intussusception) โดยดูจากปฏิกิริยาการอักเสบเป็นเกณฑ์

บางครั้งอวัยวะอยู่ผิดที่ ทำให้เกิดการฉีกหรือแตกของอวัยวะด้วย ทำให้มีรอยเลือดออกบริเวณขอบของรอยโรค เมื่อเกิดรอยโรคขึ้นก่อนตาย แต่ถ้าเกิดหลังตายจะไม่ปรากฎรอยเลือดออกแต่อย่างใด ในกรณี สุกร ม้า และโค ที่ตายอย่างรวดเร็วจากภาวะ shock เมื่อเกิด torsion บริเวณขั้ว (entire root of the mesentery) ของ mesentery การเปลี่ยนแปลงของสีจะเกิดเล็กน้อยเท่านั้น นอกจากนี้ยังจะพบการลอกหลุดของ luminal mucosa ของลำไส้ และมีการสะสมเซล และเมือกในท่อลำไส้ด้วย ทำให้สับสนกับการอักเสบได้

  6. การเปื้อนสีน้ำดี (P.M.bile imbibition)

ในอวัยวะที่อยู่ใกล้เคียงกับถุงน้ำดี จะติดสีเขียวเหลืองของน้ำดี เช่น ตับ กระเพาะอาหาร mesentery fat และลำไส้ นอกจากการเปื้อนสีน้ำดีแล้ว ยังเกิด P.M. hemoglobin imbibitioin เกิดการแพร่ผ่านของ Hb พร้อมๆ กับของเหลวจากเส้นเลือดหลังสัตว์ตายทำให้อวัยวะนั้นมีสีแดงเปื้อนสีของเลือด โดยเกิดจากก่อนที่จะเกิดเม็ดเลือดแดงแตก Hb จะถูกปล่อยเข้าสู่ blood plasma ขณะเดียวกับที่ผนังเส้นเลือดจะมีความสามารถปล่อยผ่านน้ำเพิ่มขึ้น ทำให้ plasma มีสีแดงเรื่อๆ และซึมเข้าสู่เนื้อเยื่อรอบๆ หรือแผ่กระจายไป (imbied) จึงเกิดสีแดงคล้ำ (Dark red) เป็นแนวยาว ตลอดหลอดเลือดขึ้น โดยเฉพาะใน Mesentery และ Omentum

 

7. เลือดคั่งในอวัยวะที่อยู่ส่วนต่ำ (Hypostotic congestion)

เกิดการคั่งในส่วนที่อยู่ด้านล่างตามแรงโน้มถ่วงของโลก เช่นสัตว์ที่นอนตะแคงด้านซ้ายตาย จะเกิดเลือดคั่งสีแดงคล้ำในปอด ตับ และ ไต ซีกซ้าย เป็นต้น

  

8. การแข็งตัวของเลือดหลังสัตว์ตาย(Post mortem clotting of blood)

หลังสัตว์ตายเซลล์บุผนังหลอดเลือดจะเสื่อม(degenerated endothelial cell or degenerated epithelial lining of vessels) จากภาวะขาดออกซิเจนทำให้เกิดการปล่อยสาร Thromboplastin ออกมา และเม็ดเลือดขาวที่สลายตัวจะปล่อย thromboplastin ออกมาเช่นเดียวกัน ทำให้ไฟบริโนเจนเปลี่ยนแปลงไปเป็นไพบริน ทำให้เกิดการแข็งตัวของเลือดขึ้น

 นอกจากการตายโดยภาวะ Septicemia และ Anoxic condition เลือดส่วนใหญ่จะจับกันเป็นก้อนใน Venous system หลังจากสัตว์ตายอย่างรวดเร็ว เนื่องจากขณะเกิด Rigor mortis นั้นเส้นเลือดแดงเกิดการหดตัว

 ลักษณะที่เห็นด้วยตาเปล่า ก้อนเลือดจะมีสีแดงคล้ำ หรือเข้ม (dark-red) ผิวเรียบมันวาว (Smooth & shiny on outside) มีความนุ่มหยุ่น คล้าย  jelly ไม่ยึดเกาะกับผนังเส้นเลือด เรียกว่า Current jelly clot ถ้าดูด้วยจุลทรรศน์จะพบการเรียงตัวของเม็ดเลือดในก้อนเลือดนั้น โดยพบ RBC อยู่ชั้นล่างสุด ต่อมาจะเป็น WBC และ protein ใน Plasma ได้แก่ fibrin และโปรตีนตกตะกอน ( precipitated protein ; albumin )ในชั้นต่างๆ จะคล้ายกับก้อน thrombus

ส่วนกรณีที่สัตว์เป็นโรคเรื้อรังตายอย่างช้าๆ การไหลของเลือดช้าลงก่อนสัตว์ตาย ทำให้เม็ดเลือดแดงตกตะกอนแยกชั้นลงมาอยู่ข้างล่างตามแรงโน้มถ่วงของโลกก่อน แต่จะเกิดขึ้นอย่างช้าๆ และชั้นบนจะเป็นชั้นหนาของ plasma ซึ่งมีสีขาว เมื่อสัตว์ตายลงก้อนเลือดที่แข็งตัวจะเห็นเป็นชั้นสีขาวแดงแยกกันชัดเจน ลักษณะการแข็งตัวของเลือดแบบนี้เรียกว่า chicken fat clot ซึ่งเป็นลักษณะเดียวกับ postmortem autolysis ด้วย ขบวนการเกิด chicken fat clot และ current jelly clot จะคล้ายกัน แต่ chicken fat clot จะมีชั้นสีเหลืองของ plasma ชัดเจน ในสัตว์ที่ตายอย่างช้าๆ จึงมีโอกาสพบ current jelly clot และ chicken fat clot ได้

   

 

 การเกิดการแข็งตัวของเลือดก่อนสัตว์ตาย (Antemortem blood clot) และหลังสัตว์ตายจะแตกต่างกันโดยพิจารณาคุณลักษณะตามตารางดังนี้

 กรณีสัตว์ที่ตายด้วยโรคบางชนิด เช่น โรคกาลี (Anthrax) เลือดจะไม่แข็งตัว เพราะมีสารไฟบริโนไลซิน (fibrinolysin) ที่แบคทีเรียสร้างขึ้น ทำให้ไฟบรินสลายไป โรคหรือสารพิษที่ทำให้ตับเสียหาย เลือดจะไม่แข็งตัว เนื่องจากขาด prothrombin เนื่องจากเซลล์ตับเสียหาย การเปลี่ยนแปลงหลังสัตว์ตายอาจสรุปได้ดังตารางข้างล่างนี้

ตารางที่ 1 แสดงระยะการเปลี่ยนแปลงตามลำดับภายหลังสัตว์ตาย

P.M. changes

Pathologic changes

Algormortis (cooling)

Aids in estimating time of death

Rigor mortis (Rigidity)

Begins 2 - 4 hours after death

Postmortem clotting

Thrombi and antimortem

Postmortem imbibition

Hemorrhagic staining

Hypostatic congestion (Dependent lividity deu to gravity)

 

Pseudomelanosis - Fe+S = FeS

Tissue giving shades of green and black

Autolysis

Involves no inflammatory response

Putrefaction

Rupture and displacement of organs

Emphysema (Deu to gas – producing bacteria many cause rupture of organs )

 

Biliary imbibition