ภาควิชาสัตวแพทย์สาธารณสุข มหาวิทยาลัยขอนแก่น

เปิดรับนักศึกษาระดับปริญญาโท สาขาสัตวแพทย์สาธารณสุข

ประจำปีการศึกษา 2551

 

- จุดประสงค์และเป้าหมายของหลักสูตร

- ที่มา

- นักศึกษา

- บุคลากรผู้รับผิดชอบหลักสูตร

- เกี่ยวกับภาควิชาสัตวแพทย์สาธารณสุข

- กลุ่มงานวิจัย

- ติดต่อสอบถาม

 

จุดประสงค์และเป้าหมายของหลักสูตร

1.    เพื่อพัฒนาบุคลากรในสาขาวิชาชีพสัตวแพทย์หรือที่เกี่ยวข้อง มีความรู้เข้าใจถึงกระบวนการขั้นตอนงานทางสัตวแพทย์สาธารณสุข ในระดับสากล

2.    เพื่อเป็นหน่วยพัฒนาองค์ความรู้ในด้านทางพื้นฐานวิทยาศาสตร์ในการควบคุมป้องกันโรครับจากสัตว์ รวมไปถึงอาหารที่ก่อโรคหรือสิ่งไม่พึงประสงค์จากการผลิตสัตว์อันจะมีผลกระทบต่อสุขภาพคนโดยรวม

3.    เพื่อพัฒนากลุ่มเครือข่ายในการประมวล ประเมินวิธีการป้องกัน ควบคุมโรคที่ปนเปื้อนมาจากอาหารที่มีต้นกำเนิดจากสัตว์ โดยวิธีการทางวิทยาศาสตร์ โดยเฉพาะการวิจัย

4.    เพื่อพัฒนาและสร้างกลยุทธ์ในการควบคุมป้องกันโรค สารพิษ หรือสิ่งไม่พึงประสงค์ที่เกิดจากการผลิตสัตว์ในภูมิภาค เพื่อให้เป็นต้นแบบหรือข้อมูลสำหรับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (Stakeholders) เจ้าหน้าที่รัฐ นักนโยบายสาธารณะ หรือนักกฏหมาย

ที่มา

การปศุสัตว์ในประเทศไทยได้ถูกพัฒนาและยกระดับมาเป็นขั้นตอนจากอดีตสู่ปัจจุบัน เพื่อการผลิตสัตว์เพื่อบริโภคเองในประเทศ และส่งออกไปต่างประเทศ เช่น เนื้อไก่ เนื้อหมู และอื่นๆ ได้เพิ่มปริมาณสูงขึ้นมาก ขณะเดียวกันกระบวนการผลิตสัตว์ได้มุ่งเน้นถึงให้ได้มาซึ่งปริมาณและคุณภาพของเนื้อสัตว์เป็นอย่างมาก ยา สารเคมี ได้ถูกนำมาใช้ในกระบวนการนั้นมากขึ้น ผลจากการะทำดังกล่าวส่งผลให้เกิดการตกค้างของยา สารเคมี สิ่งไม่พึงประสงค์จากการ

ผลิตสัตว์ เช่น ยา ฮอร์โมน ของเสีย ล้วนตกค้างในเนื้อสัตว์ และผลิตภัณฑ์ ซึ่งรวมไปถึงโรครับจากสัตว์ (Zoonoses) ที่มีอยู่ในขั้นตอนการผลิตสัตว์ ซึ่งอาจจะเป็นโรคประจำถิ่น หรือโรคระบาดร้ายแรง เช่น ไข้หวัดนก โรควัวบ้า โรคแอนแทร็กซ์ และโรคท้องร่วงเนื่องจากเชื้อแบคทีเรีย เช่น salmonella Campylobacter Listeria และอื่นอีกมาก และการปนเปื้อนของเชื้อโรคในขั้นตอนการฆ่าและแปรรูปเนื้อสัตว์ต่างเป็นปัจจัยต่อความสูญเสียทางสุขภาพคนหรือสูญเสียทางเศรษฐกิจอีกมาก

          การสัตวแพทย์สาธารณสุข มุ่งเน้นถึงการควบคุม และป้องกันเพื่อไม่ให้สิ่งไม่พึงประสงค์จากการผลิตใน food Chain ดังกล่าวตกสู่ผู้บริโภคหรือ Stakeholders โดยการใช้หลักการทางวิทยาศาสตร์ในการควบคุมและป้องกัน

          ภาควิชาสัตวแพทย์สาธารณสุข มหาวิทยาลัยขอนแก่น ตระหนักถึงภัยอันตรายที่ยากจะมองเห็นและเข้าใจองค์รวมได้ ภาควิชาฯ จึงได้จัดทำหลักสูตรมหาบัณฑิต สาขาวชาสัตวแพทย์สาธารณสุข เพื่อพัฒนาบุคลากรให้ได้มีความรู้ ความเข้าใจและสามารถปฏิบัติงานได้ในประเด็นดังกล่าว

 

นักศึกษา

1.    จบสัตวแพทยศาสตร์บัณฑิตหรือวิทยาศาสตร์บัณฑิตที่เกี่ยวข้อง

 

บุคลากรผู้รับผิดชอบหลักสูตร

1.                รศ..สพ.ดร.คมกริช  พิมพ์ภักดี

คุณวุฒิ           DVM, PhD.

สาขา             Veterinary Toxicology

                   Mycotoxin

                   HACCP  certification

2.                ผศ..สพ.ดร.ประพันธ์ศักดิ์  ฉวีราช

คุณวุฒิ           DVM, PhD

สาขา             Veterinary Public Health

                   Microbiology

                   Intestinal Microbiology

                   Probiotic

3.                ผศ.สพ..ดร. ขวัญเกศ  ขนิษฐานนท์   

คุณวุฒิ           DVM, PhD.

สาขา             Veterinary Epidemiology

 

เกี่ยวกับภาควิชาสัตวแพทย์สาธารณสุข

          ภาควิชาสัตวแพทย์สาธารณสุข มหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้ถูกก่อตั้งเมื่อปี พ.. 2530 เพื่อใช้ในการสอนนักศึกษาสัตวแพทย์ปริญญาตรี ในหัวข้อ โรครับจากสัตว์ ระบาดวิทยา การบริหาร การตรวจเนื้อสัตว์และผลิต สุขศาสตร์น้ำนม การอภิบาลอาหาร และการใช้สัตว์ทดลอง เป็นต้น ในห้วงเวลาที่ผ่านมาภาควิชาฯ ได้พัฒนาหลักสูตรเพื่อตอบสนองการปรับเปลี่ยนทางสังคมขึ้นมาเรื่อยๆ

          แต่บัดนี้การวิวัฒนาการทางสัตวแพทย์หรือปศุสัตว์ได้เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วไปตามิทศทางของกระแสโลกาภิวัฒน์ ซึ่งในยุคปัจจุบันหรืออนาคต สิ่งที่ท้าทายในวิถีของสัตวแพทย์ยิ่งเพิ่มมากขึ้น เช่น การวิเคราะห์ การวินิจฉัย การควบคุมและป้องกัน ต้องอาศัยทักษะ และความรู้ที่เพียบพร้อม เหมาะสมต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาวะโลก ทางภาควิชาฯ ได้พัฒนาปรับปรุงหลักสูตรขึ้น โดยการมีความรอบรู้ เข้าใจ และมีประสบการณ์ในรูปแบบการสอนและการวิจัย ซึ่งหลักสูตรได้เตรียมความพร้อมของนักศึกษาที่จะต้องมีความพร้อมของความรู้ และมีทักษะในการแก้ไขปัญหาและเข้าใจในเนื้อหาและปัญหาที่ประสบ

 

กลุ่มงานวิจัย

1.    ระบาดวิทยา

2.    Mycotoxin

3.    Probiotic

4.    Microbiology (Food borne disease)

5.    Risk Research

6.    การเลี้ยงสัตว์แบบชีวภาพ

7.    Animal welfare

8.    Organic Livestock

 

ติดต่อสอบถาม

          ภาควิชาสัตวแพทย์สาธารณสุข คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 40000

โทรศัพท์ และโทรสาร 043-364493  อีเมล์ chaveerach@kku.ac.th