การทำโปสเตอร์สำหรับนำเสนอผลงานทางวิชาการ 2549

ข้อแนะนำเบื้องต้น

1. โปสเตอร์สามารถทำได้โดยการใช้โปรแกรม Ms Powerpoint และ save as... รูปภาพ jpg or bmp หรือการใช้โปรแกรมแต่งภาพโดยตรง เช่น Adobe Photoshop โปรแกรมสร้างงานพิมพ์ เช่น Adobe InDesign, Adobe PageMaker

2. ฟอนท์ที่สามารถใช้ได้ดีในโฟโตชอป ได้แก่ ฟอนท์ในตระกูล DSE เป็นต้น สามารถดาวน์โหลดได้ที่นี่

3. ขนาดของโปสเตอร์ คือ กว้าง 90 เซนติเมตร และยาว 120 เซนติเมตร เป็นโปสเตอร์แนวตั้ง (Portrait)

4. ส่วนหัวเรื่องของโปสเตอร์ ประกอบไปด้วย ชื่อเรื่อง ชื่อผู้วิจัย และสถานที่ทำงาน (หรือที่อยู่) ทั้งภาษาไทย และภาษาอังกฤษ

5. ต้องมีส่วนของ Abstract เป็นภาษาอังกฤษ อยู่ในกรอบ หรือบริเวณด้านบนซ้ายของโปสเตอร์ (ด้านล่างของส่วนหัวเรื่อง)

6. สำหรับนักวิจัยภายนอกคณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ส่วนหัว ไม่บังคับว่าเป็นตราสัญลักษณ์ใดๆ แต่ควรเป็นหน่วยงานที่ท่านสังกัดอยู่

ตัวอย่าง

PosterOutside

7. สำหรับบุคลากรของคณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
7.1 ส่วนหัวเรื่อง ต้องมีตราสัญลักษณ์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น และตราสัญลักษณ์ 20 ปี คณะสัตวแพทยศาสตร์ มข.
กดเพื่อดาวน์โหลด
7.2 ดาวน์โหลด หัวเรื่องพร้อมโลโก้ได้ที่นี่
7.3 ดาวน์โหลด เฉพาะโลโก้มหาวิทยาลัยขอนแก่น (สี่สี) ที่นี่


PosterForVetStaff

ในการทำโปสเตอร์ด้วย Photoshop CS นั้น แน่นอน ท่านอาจไม่ต้องมานั่งพิมพ์ใหม่ หากท่านมีเอกสารที่เป็น MS Word อยู่แล้ว ให้ปฏิบัติดังนี้
ก. เปลี่ยนฟอนท์ในเอกสารเวิร์ดของท่านให้เป็น Tahoma
ข. ทำแถบสี (select) ในเอกสารเวิร์ด แล้วกอปปี้ (copy, ctr+C)
ค.ไปที่โปรแกรมโฟโตชอปที่กำลังเปิดอยู่ เลือกเครื่องมือพิมพ์อักษร จากนั้นคลิกเป็นพื้นที่สี่เหลี่ยมเพื่อที่จะนำอักษรไปวาง
ง. เหลือบดูชนิดของฟอนท์ของโฟโตชอปขณะนั้นนิดนึง ว่าเป็นฟอนท์ DSE ..หรือไม่ จะเปลี่ยนตอนนี้ก็ได้ หรือว่าเอาอักษรมาวาง (paste) ก่อนค่อยเปลี่ยนก็ได้
จ. จากนั้นก็วาง (paste, ctr+V) ก็จะได้ตัวหนังสือมาปรากฏที่โฟโตชอปอย่างถูกต้อง

ในเวิร์ด ฟอนท์พวก AngsanaUPC, CordiaUPC AngsanaNew, etc พวกนี้จะก็อปปี้และนำมาวางในโฟโตชอปเลยไม่ได้ ผลออกมาคือฟอนท์ภาษาไทย จะกลายเป็นเครื่องหมายคำถาม (?)

อย่างไรก็ตาม ใน PhotoShop CS2 นั้น ท่านสามารถใช้ฟอนท์ได้หลากหลายมากขึ้น โดยสามารถใช้ฟอนท์ New, UPC, DSN, DSU ได้อย่างสะดวก โดยไม่ต้องเปลี่ยนฟอนท์ใดๆ

คำแนะนำ และเรื่องน่ารู้เกี่ยวกับฟอนท์ CLICK!!

 

ข้อเสนอแนะ

1. โปสเตอร์ไม่ควรมีอักษรขนาดเล็กเกินไป ควรมีขนาดอย่างน้อย 20 ในส่วนของเนื้อหา ส่วนหัวเรื่องควรมีขนาดใหญ่กว่า และชัดเจน
2. บ่งบอกว่า เราเป็นใคร ทำงานที่ไหน เขียนที่อยู่ทั้งตัวเองและผู้ร่วมงานให้ชัดเจน และสามารถติดต่อได้ นอกจากนี้ หากมีสัญลักษณ์ (LOGO) ของหน่วยงานที่หัวด้วยจะเป็นการดีมาก
3. ควรมีรูปภาพประกอบ ที่ครอบคลุมเนื้อหา
4. เนื้อหาไม่ควรมากเกินไป ควรสรุปเฉพาะใจความสำคัญในหัวขัอหลักๆ (หากตัวหนังสือมากไปและตัวเล็กมาก ทำให้เกิดความลำบากในการอ่าน และทำให้ผู้ชมท้อใจเล็กน้อย)
5. ส่วนของ สรุป (Conclusion) ถือว่าเป็นส่วนสำคัญของงานวิจัยว่าผลจะออกมารูปใด ควรทำให้เด่นและชัดเจน
6. การนำเสนอแบบตาราง ทำให้เข้าใจได้ง่ายขึ้น
7. พึงระลึกว่า โปสเตอร์ คือ "การโฆษณา" ดังนั้น จึงไม่จำเป็นต้องยึดตามแบบงานตีพิมพ์ทางวิชาการ เช่น ต้องมีบทคัดย่อ บทนำ วิธีการทดลองอย่างละเอียด ผล สรุป วิจารณ์ หรือเอกสารอ้างอิง แต่มีการแสดงสิ่งที่ผู้อ่านต้องการทราบ หากต้องการข้อมูลเพิ่ม สามารถติดต่อกับผู้วิจัยได้ตามที่อยู่ที่ปรากฏ
8. โปสเตอร์ที่น่าสนใจ หากผู้ชมเดินผ่านโปสเตอร์ที่เรียงรายอยู่เป็นสิบๆ ทำอย่างไรที่เมื่อเขากวาดสายตามองแว้บแรก แล้วเขาสะดุดอยู่ที่โปสเตอร์ของเรา