การทำโปสเตอร์สำหรับนำเสนอผลงานทางวิชาการ

ก. โปสเตอร์สามารถทำได้โดยการใช้โปรแกรม Ms Powerpoint และ save as... รูปภาพ jpg or bmp หรือการใช้โปรแกรมแต่งภาพโดยตรง เช่น Adobe Photoshop
ข. ในที่นี้จะกล่าวถึงการใช้ Adobe Photoshop ในการจัดทำโปสเตอร์

วิธีทำ
1. เปิด Adobe Photoshop และเปิดเอกสารใหม่ (new..)
2. เลือกพรีเซ็ตเป็น Custom และกำหนดขนาดเป็น 60 x 80 cm, 300 dpi (หากต่ำกว่า 300 ภาพจะไม่คมชัด)


3. เมื่อได้ไฟล์ใหม่แล้ว (ขนาด 60 * 80 ซม) ต่อไปเราจะทำหัวของโปสเตอร์ โดยการก็อปปี้และเอามาวาง
4. ไฟล์รูปภาพหัวเรื่องสามารถดาวน์โหลดได้ ที่นี่ หรือ ที่นี่ (มี 2 แบบ)

5. เมื่อเปิดไฟล์ logovet_poster.jpg แล้ว ก็กด ctr+A หรือ select all --> Copy
6. จากนั้นเอามาวาง (paste) ในไฟล์โปสเตอร์ขนาด 60x80 cm ที่เราสร้างขึ้น
7. จากนั้น เลือกเครื่องมือที่จะพิมพ์ คือ Text tool (Font tool)


8. ฟอนท์ที่สามารถใช้ได้ดีในโฟโตชอป ได้แก่ ฟอนท์ในตระกูล DSE เป็นต้น สามารถดาวน์โหลดได้ที่นี่

ในการทำโปสเตอร์ด้วยโฟโตชอปนั้น แน่นอน ท่านอาจไม่ต้องมานั่งพิมพ์ใหม่ หากท่านมีเอกสารที่เป็น MS Word อยู่แล้ว ให้ปฏิบัติดังนี้
ก. เปลี่ยนฟอนท์ในเอกสารเวิร์ดของท่านให้เป็น Tahoma
ข. ทำแถบสี (select) ในเอกสารเวิร์ด แล้วกอปปี้ (copy, ctr+C)
ค.ไปที่โปรแกรมโฟโตชอปที่กำลังเปิดอยู่ เลือกเครื่องมือพิมพ์อักษร จากนั้นคลิกเป็นพื้นที่สี่เหลี่ยมเพื่อที่จะนำอักษรไปวาง
ง. เหลือบดูชนิดของฟอนท์ของโฟโตชอปขณะนั้นนิดนึง ว่าเป็นฟอนท์ DSE ..หรือไม่ จะเปลี่ยนตอนนี้ก็ได้ หรือว่าเอาอักษรมาวาง (paste) ก่อนค่อยเปลี่ยนก็ได้
จ. จากนั้นก็วาง (paste, ctr+V) ก็จะได้ตัวหนังสือมาปรากฏที่โฟโตชอปอย่างถูกต้อง

ในเวิร์ด ฟอนท์พวก AngsanaUPC, CordiaUPC AngsanaNew, etc พวกนี้จะก็อปปี้และนำมาวางในโฟโตชอปเลยไม่ได้ ผลออกมาคือฟอนท์ภาษาไทย จะกลายเป็นเครื่องหมายคำถาม (?)

คำแนะนำ และเรื่องน่ารู้เกี่ยวกับฟอนท

9. ในการปรับแต่งตัวอักษร เช่น ระยะห่างระหว่างบรรทัด ชนิดฟอนท์ ขนาด ฯลฯ สามารถกดไอคอนบนแถบด้านบนของโปรแกรม ดังภาพ

10. ตัวอย่างโปสเตอร์

ข้อเสนอแนะ

1. โปสเตอร์ไม่ควรมีอักษรขนาดเล็กเกินไป ควรมีขนาดอย่างน้อย 20 ในส่วนของเนื้อหา ส่วนหัวเรื่องควรมีขนาดใหญ่กว่า และชัดเจน
2. บ่งบอกว่า เราเป็นใคร ทำงานที่ไหน เขียนที่อยู่ทั้งตัวเองและผู้ร่วมงานให้ชัดเจน และสามารถติดต่อได้ นอกจากนี้ หากมีสัญลักษณ์ (LOGO) ของหน่วยงานที่หัวด้วยจะเป็นการดีมาก
3. ควรมีรูปภาพประกอบ ที่ครอบคลุมเนื้อหา
4. เนื้อหาไม่ควรมากเกินไป ควรสรุปเฉพาะใจความสำคัญในหัวขัอหลักๆ (หากตัวหนังสือมากไปและตัวเล็กมาก ทำให้เกิดความลำบากในการอ่าน และทำให้ผู้ชมท้อใจเล็กน้อย)
5. ส่วนของ สรุป (Conclusion) ถือว่าเป็นส่วนสำคัญของงานวิจัยว่าผลจะออกมารูปใด ควรทำให้เด่นและชัดเจน
นอกจากนี้ เราสามารถนำส่วนของ Conclusion มาไว้ส่วนหัวก็ได้ เช่น ตัวอย่างที่ 1

หรือ ส่วนท้ายก็ได้ เช่น ตัวอย่างที่ 2
(คลิกดูที่นี่..ไฟล์ขนาดใหญ่)
จากตัวอย่างที่ 2 จะเห็นว่า ส่วนประกอบของโปสเตอร์นั้น อาจจะไม่มีส่วนบทนำ โดยเริ่มในส่วนของ วิธีการทดลอง หรือถ้ามี ...อาจมีเพียงส่วนบทนำคร่าวๆ พูดถึงที่มา และสาเหตุของปัญหา จากนั้นเป็นผลการทดลองที่ได้
ในการเขียนผลการทดลองนั้น หากมีหลายการทดลอง อาจจะเขียนวิธีทดลองไปครั้งเดียวจนครบ และเขียนผลครั้งเดียวรวมทุกการทดลอง หรือ... จบการทดลองหนึ่งๆ ก็เขียนผลการทดลองไปในแต่ละอัน ข้อดีของวิธีหลังคือ ทำให้ผู้อ่านเข้าใจง่ายกว่า ส่วนของสรุป ได้กล่าวไปแล้วในข้อ 5 นอกจากนี้ ส่วนของวิจารณ์และเอกสารอ้างอิงอาจไม่จำเป็น

6. การนำเสนอแบบตาราง ทำให้เข้าใจได้ง่ายขึ้น
7. พึงระลึกว่า โปสเตอร์ คือ "การโฆษณา" ดังนั้น จึงไม่จำเป็นต้องยึดตามแบบงานตีพิมพ์ทางวิชาการ เช่น ต้องมีบทคัดย่อ บทนำ วิธีการทดลองอย่างละเอียด ผล สรุป วิจารณ์ หรือเอกสารอ้างอิง แต่มีการแสดงสิ่งที่ผู้อ่านต้องการทราบ หากต้องการข้อมูลเพิ่ม สามารถติดต่อกับผู้วิจัยได้ตามที่อยู่ที่ปรากฏ
8. โปสเตอร์ที่น่าสนใจ หากผู้ชมเดินผ่านโปสเตอร์ที่เรียงรายอยู่เป็นสิบๆ ทำอย่างไรที่เมื่อเขากวาดสายตามองแว้บแรก แล้วเขาสะดุดอยู่ที่โปสเตอร์ของเรา

มีปัญหา สอบถาม เกี่ยวกับการใช้โปรแกรม PhotoShop อีเมล์ไปที่ weerapol@kku.ac.th หรือ โทรภายใน 311 คณะสัตวแพทยศาสตร์