คำแนะนำในการจัดทำบทคัดย่อและเรื่องเต็ม (Full Paper) เพื่อลงพิมพ์ในวารสาร

สัตวแพทยศาสตร์ มข . ปีที่ 15 ฉบับที่ 1 การประชุมวิชาการสัตวแพทยศาสตร์ มข .

ครั้งที่ 6 ประจำปี 2548

ข้อแนะนำสำหรับผู้เขียน

วารสารสัตวแพทยศาสตร์ มข . เป็นวารสารทางวิชาการของคณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น จัดทำขึ้นเพื่อเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ และผลงานค้นคว้าวิจัยทางสัตวแพทย์ และสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง คณะบรรณาธิการวารสารสัตวแพทยศาสตร์ มข . ยินดีรับเรื่องจากทุกท่านที่กรุณาส่งมาเพื่อเผยแพร่ และเพื่อความสะดวกในการพิจารณา คณะบรรณาธิการมีข้อเสนอแนะนำดังนี้

1. ประเภทผลงานที่ตีพิมพ์

1.1 งานวิจัย (Research papers) เป็นผลงานจากการค้นคว้าทดลองหรือวิจัยทางวิชาการที่ผู้เขียนหรือกลุ่มผู้เขียนได้ค้นคว้าวิจัยด้วยตัวเอง

1.2. รายงานสัตว์ป่วย (Case Report) เป็นรายงานที่ไม่เคยตีพิมพ์มาก่อน หรือทางคณะบรรณาธิการพิจารณาเห็นประโยชน์ต่อทางวิชาการสัตวแพทย์

1.3. บทความ (Articles) ซึ่งอาจแยกเป็นบทความปริทรรศน์ (Review articles) และบทความเทคนิค (Technical articles) ซึ่งเรียบเรียงจากการตรวจเอกสารวิชาการในสาขานั้น ๆ

1.4 เรื่องอื่น ๆ ที่คณะผู้จัดทำเห็นสมควร รวมถึงจดหมายถึงบรรณาธิการ (Letters to editor)

2. การเตรียมต้นฉบับงานวิจัย

2.1 ต้นฉบับที่ส่งมาลงพิมพ์ในวารสารสัตวแพทยศาสตร์ มข . ต้องเป็นเรื่องที่ไม่เคยพิมพ์เผยแพร่ หรือกำลังอยู่ในระหว่างการพิจารณา เพื่อลงพิมพ์ในวารสารหรือหนังสืออื่น

2.2 ต้นฉบับจะเป็นภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษก็ได้ พิมพ์บนกระดาษขาวเอ 4 โดยพิมพ์หน้าเดียว เว้นขอบกระดาษด้านซ้าย - บน 1.5 นิ้ว ด้านขวา - ล่าง 1 นิ้ว โดยความยาวของเรื่องพร้อม ตารางและภาพประกอบรวมแล้วไม่เกิน 10 หน้า และใส่หมายเลขหน้า ตามลำดับ

•  เพื่อให้การดำเนินการจัดพิมพ์วารสารเป็นไปด้วยความสะดวกและรวดเร็ว โปรดจัดเตรียมต้นฉบับอิเลคโทรนิค (electronic file) บนแผ่นข้อมูล (PC-formatted Diskette) ขนาด 3.5 นิ้ว พิมพ์ด้วยชนิดตัวอักษร Angsana UPC ขนาดตัวอักษร 16 โดยการบันทึกเอกสารส่วนที่เป็นเนื้อเรื่อง (text) ให้ทำ 2 แบบ คือ

ไฟล์ที่ 1 บันทึกด้วยโปรแกรม Microsoft word (window 95 หรือสูงกว่า )

ไฟล์ที่ 2 บันทึกแบบ RTF (Rich Text Format)

ส่วนผลการทดลองที่เป็นรูปภาพ และ / หรือ ตาราง ( ถ้ามี ) ให้แยกไฟล์ต่างหาก และระบุโปรแกรม (software) ที่ใช้ในการสร้างภาพ และ / หรือ ตาราง นั้นๆ

2.4 ผู้เขียนสามารถส่งโทรสาร ต้นฉบับได้ กรณีเร่งด่วน แล้วให้ส่งต้นฉบับจริงตามมาภายหลัง

2.5 ไม่มีการส่งคืนต้นฉบับ ในกรณีที่ไม่ผ่านการพิจารณา แต่จะแจ้งให้ทราบ

 

3. การลำดับเรื่องควรเรียงดังนี้

หน้าที่ 1 ( หน้านำ หรือ Title page) ประกอบด้วย

ชื่อเรื่อง (Title) ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ชื่อเรื่องควรสื่อความหมายได้ชัดเจนและสอดคล้องกับเนื้อหาในเรื่อง ไม่ควรใช้คำย่อ

ชื่อผู้เขียน (Authors) ชื่อของผู้เขียนครบทุกท่านทั้งภาษาไทย และภาษาอังกฤษ พร้อมสถานที่ทำงาน และผู้เขียนที่ให้การติดต่อ (corresponding author) ให้กำกับด้วยเครื่องหมายดอกจัน และให้แยกรายละเอียดของสถานที่ติดต่อ หมายเลขโทรศัพท์ โทรสาร และ / หรือ E-mail address ให้ชัดเจนเพื่อความรวดเร็วในการติดต่อ

ชื่อเรื่องย่อ (Running Title) ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ เป็นชื่อเรื่องขนาดกะทัดรัด และสื่อความหมายได้

หน้าที่ 2 ประกอบด้วย

บทคัดย่อ (Abstract) เขียนสั้น ๆ ให้ครอบคลุมสาระสำคัญของเรื่องทั้งหมด มีทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ไม่เกิน 250 คำ และไม่ควรใช้คำย่อในบทคัดย่อ ต้นฉบับที่เป็นภาษาอังกฤษ ต้องส่งบทคัดย่อภาษาไทยด้วย

คำสำคัญ (Keywords) เป็นคำหรือข้อความสั้น ๆ ที่เป็นจุดสำคัญของเนื้อเรื่อง รวมกันแล้วไม่ควรเกิน 5 คำ มีทั้งภาษาไทย และภาษาอังกฤษ ระบุอยู่ใต้ ( ขึ้นบรรทัดใหม่ ) บทคัดย่อทั้งของภาษาไทย และภาษาอังกฤษ

หน้าที่ 3 และ หน้าต่อๆไป ประกอบด้วยหัวข้อต่อไปนี้ โดยพิมพ์ติดต่อกันตามลำดับ ยกเว้นผลการทดลองในส่วนที่เป็นรูปภาพ กราฟ ตาราง และคำอธิบายประกอบ ซึ่งให้แยกและแนบไว้ในส่วนท้ายสุดของต้นฉบับ ( ต่อจากเอกสารอ้างอิง ) ให้ใส่หมายเลขบรรทัดและหมายเลขหน้าในเอกสารส่วนนี้ด้วย ถ้าเตรียมเอกสารด้วยโปรแกรม MSword มีวิธีใส่หมายเลขบรรทัดดังนี้ แฟ้ม – ตั้งค่าหน้ากระดาษ – เค้าโครง – หมายเลขบรรทัด – เพิ่ม เริ่มที่ 1 เริ่มนับใหม่แต่ละหน้า

บทนำ (Introduction) เพื่ออธิบายถึงความสำคัญของปัญหา และวัตถุประสงค์ของการทดลอง อาจรวมการตรวจเอกสาร (Literature review)

วัสดุอุปกรณ์และวิธีการ (Materials and Methods) ถ้าเป็นวิธีการที่คิดค้นขึ้นใหม่ควรอธิบายโดยละเอียด แต่ถ้าเป็นวิธีการที่ทราบกันอยู่แล้วและมีผู้เคยตีพิมพ์มาก่อน ไม่ต้องอธิบายซ้ำแต่ควรเขียนแบบอ้างอิงและอธิบายเฉพาะส่วนที่ดัดแปลงหรือเพิ่มเติม ในส่วนของวัสดุอุปกรณ์และวิธีการนี้ควรมีแผนการทดลองด้วย พร้อมทั้งระบุแหล่งที่มาของสารเคมี และวิธีวิเคราะห์ผลการทดลองทางสถิติ

ผลการทดลอง (Results) การรายงานผลการทดลองหรือวิจัยเป็นคำบรรยาย ควรเป็นอย่างละเอียด ชัดเจน และตรงประเด็น อาจแยกหัวข้อเพื่อให้เข้าใจง่าย และการรายงานผลต้องไม่ซ้ำซ้อนกับผลที่นำเสนอใน รูปและตาราง

บทวิจารณ์ (Discussion) เป็นการวิจารณ์ผลการทดลองหรือวิจัย การประเมินผล การตีค่าของผลงาน การวิจารณ์ผลควรเปรียบเทียบกับผลงานของผู้อื่นที่ได้รายงานมาแล้ว และควรเน้นถึงสิ่งที่ได้ค้นพบ เพื่อเสนอลู่ทางที่จะใช้ประโยชน์ ฯลฯ หรือหาข้อยุติในผลการทดลองบางอย่าง

สรุป (Conclusion) อาจมีหรือไม่มีก็ได้ ถ้ามีควรเขียนอย่างย่อ ๆ โดยกล่าวถึงผลสรุปที่ได้จากการศึกษาทดลอง และคุณค่าของงาน เพื่อผู้อ่านจะได้เข้าใจง่ายขึ้น

กิตติกรรมประกาศ (Acknowledgement) ควรมีในกรณีที่ได้รับความช่วยเหลือ หรือความร่วมมือ ที่ให้การสนับสนุนงานค้นคว้าวิจัยนั้น ๆ

เอกสารอ้างอิง (References) กรุณาดูหมายเหตุ (1)

คำบรรยายประกอบรูปภาพ ตาราง (Legends) กรุณาดูหมายเหตุ (2)

รูปภาพ (Figures ) และ ตาราง (Tables) กรุณาดูหมายเหตุ (3)

 

หมายเหตุ (1):

ก . การเขียนเอกสารอ้างอิง

ควรเรียงตามพยัญชนะก่อนหลัง ในกรณีที่มีเอกสารอ้างอิงเป็นภาษาไทย ควรอ้างอิงก่อนแล้วตามด้วยเอกสารอ้างอิงภาษาอังกฤษ

1. วารสารภาษาไทย จัดเรียงลำดับดังนี้ ชื่อตัว และชื่อสกุลของผู้แต่งทุกคน ปีที่พิมพ์ ชื่อเรื่อง ชื่อวารสาร ปีที่ ฉบับที่ และหน้าของวารสาร ดังตัวอย่าง

สุพจน์ เอนกวณิช ธีรศักดิ์ ตรัยมงคลกูล และพิภพ จาริกภากร . 2529. การศึกษาภาวะ

โรคคีโตซีสในโคนม . วิทยาสารเกษตรศาสตร์ . 10(1):65-73.

2. วารสารภาษาอังกฤษ จัดเรียงลำดับเหมือนวารสารภาษาไทย แต่ขึ้นต้นด้วยชื่อสกุล ตามด้วยตัวย่อของชื่อจริง และใช้ชื่อย่อของวารสาร ดังตัวอย่าง

Brugn, M., Beard, C.W. and Villegas, P. 1983. Experiment infection of laying chicken

with Adenovirus 127 and with a related virus isolated from ducks. Avian

Dis. 28(1):168-178.

Wilson, J.W. and Stevens, J.B. 1977. Effect of blood contamination on cerebrospinal

fluid analysis. J. Am. Vet. Med. Assoc. 171(3):256-258.

3. ตำราหรือหนังสือ จัดเรียงลำดับเหมือนวารสาร คือ ชื่อผู้แต่ง ปีที่พิมพ์ ชื่อหนังสือ ครั้งที่พิมพ์ถ้าไม่ใช่ครั้งแรก สำนักพิมพ์ เมืองที่พิมพ์ และจำนวนหน้า ดังตัวอย่าง

ปราณี ตันติวณิช . 2530. โรคนัยน์ตาสัตว์ . โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย . กรุงเทพฯ

257 หน้า .

Prescott, F.J. and Baggot, D.J. 1988. Antimicrobial Therapy in Veterinary Medicine.

Blackwell Scientific Publication, Oxford. 367 p.

4. กรณีที่เป็นหนังสือ มีผู้แต่งแต่ละบทแยกกัน และมีบรรณาธิการเป็นผู้รวบรวม การอ้างอิงให้อ้างชื่อผู้แต่ง ปีที่พิมพ์เผยแพร่ ชื่อบทความที่อ้างอิง ชื่อหนังสือ ชื่อบรรณาธิการ สำนักพิมพ์ เมืองที่พิมพ์ และเลขที่หน้าแรกและหน้าสุดท้ายของบทความที่อ้างอิง ดังตัวอย่าง

Martin, P.A. 1986. Embryo transfer in swine. In : Current Therapy in Theriogenology.

D.A. Morrow (ed). W.B. Saunders Company, Philadelphia. pp. 66-69.

5. การอ้างถึงบุคคล หรือเรื่องราวที่ไม่เคยลงพิมพ์มาก่อน (personal communication) จะอ้างได้เฉพาะในเนื้อเรื่องเท่านั้น ไม่ต้องนำมาลงในรายชื่อเอกสารอ้างอิง

 

ข . การอ้างเอกสารในเนื้อเรื่องของรายงาน

ใช้ระบบนามปี (Name-Year System) วิธีนี้ใช้เอกสารตามชื่อผู้แต่ง แล้วตามด้วยปีที่ เผยแพร่ เอกสารนั้น ( ถ้าเป็นเอกสารภาษาอังกฤษใช้ชื่อสกุลนำหน้า ถ้าเป็นเอกสารภาษาไทยใช้ชื่อนำหน้า ) ทั้งนี้ถ้ามีผู้แต่ง 2 คน ให้ใส่ชื่อครบทุกคน โดยเชื่อมด้วย “ และ ” ( ถ้าเป็นบทความภาษาอังกฤษ ใช้ “and”) แต่ถ้าเกิน 2 คน ให้ใส่ชื่อผู้แต่งคนแรกแล้วตามด้วย “ และคณะ ” ( ถ้าเป็นบทความภาษาอังกฤษ ใช้ “et al.”)

ถ้าหากเอกสารนั้นเขียนโดยคนเดียวกัน เผยแพร่มากกว่า 1 ฉบับภายในปีเดียวกัน ให้เรียงลำดับตามตัวอักษร และกำกับตัวอักษร ก , ข , ค , … ไว้ท้ายปี ถ้าเป็นเอกสารภาษาไทย และ a, b, c, … ถ้าเป็นเอกสารภาษาอังกฤษ

ตัวอย่าง การเก็บรักษาเซลล์สืบพันธุ์ของปลาให้มีชีวิตอยู่ได้นานกว่าปกติมีมาตั้งแต่ คศ . 1853 ( วิชัย , 2520; Fisher, 1980) ซึ่งมีการพยายามทดลอง และประสบความสำเร็จโดยการแช่แข็ง โดยใช้ glycerol เป็นสารป้องกันการแข็งตัว (Hand and Norton, 1980; Smith et al., 1981) อย่างไรก็ตาม Jonhson and Pitt (1985) and Baygot et al. (1987a, 1987b) พบว่าสารเคมีตัวอื่น ๆ เช่น DMSO อัลกอฮอล์ ก็ได้ผลดีเช่นกัน

หมายเหตุ (2): การเขียนคำบรรยายประกอบรูปภาพ ตาราง

(Legends)

คำอธิบายประกอบรูปภาพและตารางให้ใช้เป็นภาษาอังกฤษทั้งหมด และให้พิมพ์แยกแผ่นต่างหากโดยรวบรวมและเรียงตามลำดับให้สอดคล้องกับหมายเลขของรูปภาพและตารางที่นำเสนอ คำอธิบายควรให้มีความชัดเจนในตัวเองและให้ผู้อ่านสามารถเข้าใจได้ ควรระบุความหมายของสัญลักษณ์ที่ใช้ ในกรณีที่กำหนดเครื่องหมายแสดงความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ให้กำกับ p-value และจำนวนสัตว์ (n) ที่ใช้ในการวิเคราะห์ผลการทดลองในแต่ละกลุ่ม

 

หมายเหตุ (3): การเตรียมรูปภาพ (Figures ) และ ตาราง (Tables)

รูปภาพ (Figures) ภาพประกอบที่เป็นภาพถ่ายขาว - ดำ ควรมีความชัดเจน พิมพ์บนกระดาษมันผิวหน้าเรียบ ขนาดประมาณ 3.5 x 5 นิ้ว ( โปสการ์ด ) หากต้องการให้ตีพิมพ์ภาพสี คณะผู้จัดทำวารสารฯ ขอให้ผู้เขียนเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายในส่วนนี้ ถ้ามีรูปภาพที่ scan ประกอบในเอกสารต้องส่งภาพต้นฉบับมาด้วย รูปภาพที่ถ่ายจากกล้อง digital ให้ส่งไฟล์รูปภาพพร้อมภาพที่พิมพ์ในกระดาษ ภาพประกอบที่เป็นลายเส้น รูปวาดหรือกราฟ ควรเขียนด้วยหมึกอินเดียสีดำ (Indian ink) บนกระดาษอาร์ตสีขาว ขนาดพอเหมาะกับหน้ากระดาษของวารสาร ทางด้านหลังของรูปภาพทุกภาพ ให้กำกับหมายเลขภาพ ลูกศรบอกด้านหัวของรูปภาพ พร้อมทั้งให้ชื่อเรื่องย่อ และชื่อผู้เขียนบทความคนแรกเอาไว้ด้วย

ตาราง (Tables) ต้องไม่มีเส้นแนวตั้ง บรรจุข้อมูลที่เป็นภาษาอังกฤษทั้งหมด และสรุปจากผล อย่างชัดเจนให้พอเหมาะกับหน้ากระดาษในแนวตั้ง ตารางควรมีความหมายในตัวเอง ถ้ามีมากกว่า 1 ตาราง ให้พิมพ์แยกแผ่นและเรียงตามลำดับ หมายเลขของตารางให้พิมพ์เหนือตารางนั้นๆ

•  การส่งต้นฉบับ

ส่งถึง ผศ . สุณีรัตน์ เอี่ยมละมัย

ประธานอนุกรรมการฝ่ายพิจารณาผลงานวิจัย

คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

ตำบลในเมือง อำเภอเมือง

จังหวัดขอนแก่น 40002

 

โทรศัพท์ 0-4336-4490 เบอร์ภายใน 2387 หรือ 0-4320-2404

โทรสาร 0-4320-2404 ต่อ 150 หรือ 0-4334-2693

เอกสารมีดังนี้

•  ต้นฉบับจริง จำนวน 3 ชุด

•  รูปภาพตัวจริง ( ถ้ามี ) จำนวน 1 ชุด

•  จัดส่งแผ่นข้อมูล ที่ระบุชื่อเรื่องโดยย่อพร้อมชื่อผู้เขียนคนแรกบนแผ่น ให้บรรณาธิการภายหลังจากแก้ไขผลงานและได้รับการตอบรับเพื่อลงตีพิมพ์แล้ว

******************